ข้อมูลองค์กร

ประวัติความเป็นมา


             

ประวัติ สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 5   

      สำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต  5  เดิมคือฝ่ายพัฒนาน้ำบาดาล  1  เป็นโครงการสำรวจและพัฒนาน้ำบาดาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2507  มีภารกิจในการสำรวจและเจาะพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนในพื้นที่ภาคอีสานทั้งหมด  จนถึงปี พ.ศ.  2536  คงเหลือพื้นที่รับผิดชอบเพียง  8  จังหวัดในเขตอีสานใต้  คือ  จังหวัดนครราชสีมา , ชัยภูมิ , บุรีรัมย์ , สุรินทร์ , ศรีสะเกษ , ร้อยเอ็ด , ยโสธร  และจังหวัดอุบลราชธานี   ในปี พ.ศ.  2545  รัฐบาลมีนโยบายปฏิรูประบบราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม  เพื่อให้ระบบราชการเป็นกลไกและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ จึงได้ยกฐานะฝ่ายพัฒนาน้ำบาดาล 1  เป็นศูนย์ทรัพยากรน้ำบาดาล  ภาค  1  นครราชสีมา  รับผิดชอบพื้นที่  4  จังหวัด  คือ  จังหวัดนครราชสีมา , ชัยภูมิ , บุรีรัมย์  และจังหวัดสุรินทร์ 

วิสัยทัศน์   

            เป็นองค์กรหลักที่ยึดมั่นหลักธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลในพื้นที่อย่างมีคุณภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมให้เกิดความยั่งยืน

พันธกิจ   

              1. ควบคุม ดูแลและปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับนโยบาย กฎหมาย กฏระเบียบและมาตรฐาน ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล

              2. สำรวจ ประเมินศักยภาพ พัฒนา อนุรักษ์ ฟื้นฟู ควบคุมดูแล ส่งเสริม สนับสนุน บริการและปรับปรุงพัฒนาสารสนเทศน้ำบาดาลในพื้นที่  เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างมีประสิทธิภาพ

              3. ส่งเสริม พัฒนา บุคลากรให้มีองค์ความรู้และเข้าใจการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆปรับปรุงการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล

ประเด็นยุทธศาสตร์ 

              1. บริหารจัดการองค์กรโดยยึดมั่นหลักธรรมาภิบาล

              2. บริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างมีคุณภาพ

 เป้าประสงค์  

              1. ประชาชนในพื้นที่มีน้ำที่มีคุณภาพใช้อย่างเพียงพอ

              2. แอ่งน้ำบาดาลได้รับการสำรวจและประเมินศักยภาพให้เป็นปัจจุบัน

              3. การพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ตามวัตถุประสงค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบ

              4. กำกับ ดูแลการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลให้เป็นไปตามกฎหมาย

              5. แหล่งน้ำบาดาลอยู่ในสภาพที่สมดุล ยั่งยืน

              6. อนุรักษ์และปกป้องแหล่งน้ำบาดาล

              7. ฟื้นฟู แก้ไข แหล่งน้ำบาดาลให้กลับสู่สมดุล

              8. อปท.มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างเป็นระบบ

              9. การพัฒนาเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล

            10. มีฐานข้อมูลทรัพยากรน้ำบาดาลที่ตอบสนองคามต้องการของผู้รับบริการ

            11. ระบบบริหารทรัพยากรบุคคลที่เกื้อหนุนต่อการเสริมสร้างและพัฒนาบุคลากร ให้มีคุณภาพ

            12. ระบบการจัดการความรู้ที่เหมาะสมและเป็นระบบ

            13. ระบบการเงินและจัดซื้อจัดจ้างที่มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ 

            1.เร่งรัดสนับสนุนการจัดหาและพัฒนาน้ำสะอาดให้พอเพียง ทั่วถึงและเป็นธรรม

             2.เพิ่มประสิทธิภาพการประเมินศักยภาพน้ำบาดาลและจัดทำแผนที่น้ำบาดาล

             3.เร่งรัดสำรวจและพัฒนา เพื่อเพิ่มต้นทุนน้ำบาดาลและข้อมูลแหล่งน้ำบาดาล

             4.ส่งเสริมโครงการนำร่องในพื้นที่มีศักยภาพและมีความพร้อม

             5.เพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุง การควบคุมกิจการน้ำบาดาล

             6.เร่งรัดการสร้างเครือข่ายบ่อสังเกตการณ์น้ำบาดาลให้คลอบคลุมแอ่งน้ำบาดาลและพื้นที่สำคัญ

             7.สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนและกระตุ้นจิตสำนึกรับผิดชอบ

             8.เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้ด้านน้ำบาดาลให้แก่ อปท.และประชาชน

             9.บูรณาการกับทุกภาคส่วน โดยมุ่งเน้นการเข้าถึง เข้าใจและมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ

            10.การรายงานผลและจัดเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง ง่ายต่อการสืบค้น

            11.สร้างแรงจูงใจและการสนับสนุนความก้าวหน้าในหน้าที่ราชการอย่างมีระบบและเป็นธรรม

            12.พัฒนาบุคลากรและระบบด้านการเงิน อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง