คำถามที่พบบ่อย

1. ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล ขายที่ดินที่มีบ่อน้ำบาดาลตั้งอยู่ให้ผู้อื่น แล้วผู้ซื้อใหม่ต้องการใช้น้ำจากบ่อน้ำบาดาลแต่ไม่สามารถตามเจ้าของเดิมมาดำเนินการโอนใบอนุญาตได้ต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ : กรณีที่ติดต่อได้ ให้เจ้าของเดิมมาโอน ถ้าติดต่อไม่ได้ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าท่านเป็นผู้ครอบครองที่ดินรายใหม่ แต่มีบ่อน้ำบาดาลเดิมอยู่ และขออนุญาตใช้น้ำบาดาลใหม่และให้ทำการยกเลิกใบอนุญาตเดิม (นายอภิชาติ จันทร์เทียน)

2. ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตเดิม เลิกกิจการและเป็นบุคคลล้มละลาย ธนาคารยึดที่ดินและใบอนุญาตได้ขาดไป สามารถใช้อำนาจหน้าที่ดำเนินการอุดกลบได้หรือไม่?

ตอบ : กรณีที่ติดต่อได้ ให้เจ้าของเดิมมาโอน ถ้าติดต่อไม่ได้ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ว่าท่านเป็นผู้ครอบครองที่ดินรายใหม่ แต่มีบ่อน้ำบาดาลเดิมอยู่ และขออนุญาตใช้น้ำบาดาลใหม่และให้ทำการยกเลิกใบอนุญาตเดิม (นายอภิชาติ จันทร์เทียน)   สำหรับกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ครอบครองที่ดิน ตัวอย่างเช่น จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีคำพิพากษา ศาลปกครองคือทางเจ้าหน้าที่น้ำบาดาลแจ้งให้เจ้าของที่ดินอุดกลบบ่อน้ำบาดาลที่ไม่มาต่ออายุใบอนุญาต แต่ศาลปกครองตัดสินออกมาว่าเจ้าของใหม่ไม่รู้เรื่องไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล เพราะฉะนั้นการที่จะบังคับตามมาตรา 27 และ 37 ให้ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลดำเนินการอุดกลบฯ เพราะฉะนั้นเราต้องบังคับเจ้าของเดิมแต่ถ้าไม่สามารถตามผู้ประกอบการเดิมมาดำเนินการได้ ก็เป็นหน้าที่ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ก็แจ้งมาที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ก็จะไปดำเนินการอุดกลบตามแผนการอนุรักษ์ และในกรณีที่หมู่บ้านจัดสรรคุณจะมาเกี่ยงไม่ขอใช้น้ำบาดาลไม่ได้ ฉะนั้นจะต้องมาขออนุญาตใช้น้ำบาดาล ในกรณีที่ใช้น้ำบาดาลอยู่อันนี้มีคำพิพากษาศาลปกครอง (นายสุรพล ธรรมสาร)

3. การชำระค่าใช้น้ำบาดาลสามารถผ่อนชำระเป็นรายเดือนได้หรือไม่?

ตอบ : การผ่อนชำระยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากต้องออกเป็นประกาศกระทรวงฯ (นายอภิชาติ จันทร์เทียน)

4. บ่อที่เคยขออนุญาตและหมดอายุไปแล้วไม่มาขอต่ออายุ โดยไม่ทำอะไรเลย โดยไม่มาขอยกเลิกและไม่ทำการอุดกลบฯ จะต้องทำอย่างไร?

ตอบ : ในกรณีบ่อที่ขาดการติดต่อหรือหมดอายุ ต้องให้ได้ข้อเท็จจริงว่ายังมีการใช้อยู่หรือเปล่า ถ้ายังใช้อยู่ อันดับแรกก็ต้องเปรียบเทียบคดี เพราะมีการใช้น้ำบาดาล โดยไม่ได้รับอนุญาตและให้ผู้ประกอบการมาขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้อง ในกรณีไม่ใช้ก็ให้แจ้งมาทำการยกเลิกและอุดกลบให้ถูกต้อง ในกรณีที่มีผู้ประกอบการรับผิดชอบอยู่ มี พรบ. น้ำบาดาลกำหนดว่าผู้ประกอบการจะต้องยกเลิกและทำการอุดกลบถ้าไม่อุดกลบทางราชการสามารถเข้าไปอุดกลบได้และเรียกค่าใช้จ่ายจากผู้ประกอบการหรือเจ้าของบ่อน้ำบาดาล (นายอภิชาติ จันทร์เทียน)

5. กรณีที่ดิน อปท. เจาะแล้ว ผู้ประกอบการมีความประสงค์จะขออนุญาตใช้ เขามีเฉพาะบ้านเลขที่ แต่ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ สามารถออกใบอนุญาตใช้ได้หรือไม่?

ตอบ : ให้ยึดหลักว่าถ้าเป็นพื้นที่เขตอุทยาน เขตป่าสงวน เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า ที่เกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย ไม่ควรออกใบอนุญาต (นายสุรพล ธรรมสาร)

6. กฎกระทรวงใหม่กำหนดความลึก 15 เมตร ในกรณีที่พื้นที่นั้นแต่เดิมความลึกที่กำหนดถึง 30 เมตร แต่มีบ่อที่มีความลึก 20 เมตร จึงไม่ต้องขออนุญาต เมื่อมีกฎกระทรวงต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ : ในกรณีนี้ตามบทเฉพาะกาลของ พรบ. น้ำบาดาล พ.ศ. 2520 บัญญัติให้ผู้ครอบครองอยู่เดิมและประสงค์จะใช้น้ำจากบ่อน้ำบาดาลนั้นต่อไป ต้องดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้อง ภายในวันที่ 29 กรกฎาคม 2555 ที่จะถึงนี้ หลังจากนั้นจะมีความผิด และมีบทลงโทษตามกฎหมาย (นายประโยชน์ ด่านก่อโพธิ์)

7. ในกรณีหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4 ที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของ พรบ. นี้ กรณีที่เป็นจังหวัดที่ใช้ยุทธศาสตร์จังหวัดที่ถือว่าเป็นกรมฯ กรมหนึ่งจังหวัดสามารถสนับสนุนน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแก่เกษตรกรในพื้นที่ จะถือว่าได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4 หรือไม่?

ตอบ : จังหวัดไม่ถือว่าได้รับการยกเว้นตามมาตรา 4 ยกตัวอย่าง จังหวัดอุดรธานีทุกวันนี้ สตง.เข้าไปตรวจก็มีการเปรียบเทียบคดีอยู่ฐานลักลอบเจาะน้ำบาดาล ถ้ายังไม่มีการยื่นขอใช้ก็ยังต้องเข้าไปติดตามตรวจเรื่องขอใช้อยู่ (นายสุรพล ธรรมสาร)

8. ในกรณีใบอนุญาตขาดแล้วผู้ประกอบการยังไม่ชำระค่าใช้น้ำบาดาลจะต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ : กรณีใบอนุญาตหมดอายุต้องติดตามให้มาต่ออายุใบอนุญาต ถ้าละเลย หรือนิ่งเฉยถือว่ามีความผิด ต้องประสานทางผู้ประกอบการให้มาทำการต่ออายุใบอนุญาต (นายสุรพล ธรรมสาร)

9. กรณีการฟ้องคดี หากใบอนุญาตสิ้นอายุเดือนธันวาคม 2553 และผู้ได้รับใบอนุญาตยังใช้น้ำจนถึงปัจจุบันและไม่จ่ายค่าใช้น้ำจนถึงปัจจุบัน เราต้องฟ้องร้องคดีจนถึงปัจจุบัน หรือฟ้องถึงเวลาใบอนุญาตสิ้นอายุ?

ตอบ : การฟ้องร้องต้องคำนวณค่าเสียหายจากการใช้น้ำบาดาล (ทางแพ่ง) สามารถฟ้องย้อนกลับไปจนวันสิ้นอายุใบอนุญาตและมีอายุความ 10 ปี ในกรณีที่มีหนี้ค้างถึง 31 ธ.ค. ผู้ถูกฟ้องร้องสามารถทำความตกลงชำระบางส่วนได้พร้อมทั้งเสียดอกเบี้ย ร้อยละ 7.5 (นายสุรพล ธรรมสาร)

10. ถ้าผู้ตายมีทายาทโดยมีลูกชายใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลจะตกทอดโดยมรดกได้หรือไม่?

ตอบ : ถ้าใครเป็นคนได้ที่ดิน บุคคลผู้นั้นต้องขออนุญาตเพราะว่าคนมาขออนุญาตใช้น้ำบาดาลก็ต้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เพราะคนที่มาขอต้องมีสิทธิ์ใช้น้ำบาดาล แล้วก็ต้องชำระค่าใช้น้ำบาดาล (นายอภิชาติ จันทร์เทียน)

11. กรณีที่ 1 ถ้าเจ้าของบ่อเดิมเลิกกิจการล้มละลายถูกยึดที่ดินและในระหว่างนี้ก็ไม่ได้มีการใช้น้ำบาดาลเพราะเป็นที่รกร้างไปแล้ว ต่อมามีผู้มาซื้อที่ดินใหม่แล้วเจ้าของใหม่อยากใช้น้ำบาดาลแต่ใบอนุญาตเดิมยังไม่สิ้นอายุและเจ้าของเดิมก็ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนและยังไม่ได้โอนใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลจะใช้น้ำบาดาลต่อต้องทำอย่างไร?

ตอบ : ในกรณีที่ที่ดินถูกธนาคารยึดแล้วมีผู้ครอบครองที่ดินใหม่แล้วเจ้าหน้าที่น้ำบาดาลมีการแจ้งหนี้หรือไม่ ถึงแม้จะมีการแจ้งไป แต่อาจไม่มีผู้มาติดต่อ ไม่มาชำระ เพราะที่ดินถูกปิดไปแล้ว ฉะนั้น ถ้ามีผู้ซื้อที่ดินรายใหม่ ก็ขอให้มาขอใช้น้ำบาดาลให้ถูกต้องพนักงานเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบแล้วพบว่าซ้อนกัน และพบว่าใบอนุญาตอันเดิมยังไม่สิ้นอายุก็ให้ยกเลิกใบอนุญาตเดิมแล้วให้ผู้ประกอบการรายใหม่ทำเรื่องขออนุญาตใช้น้ำบาดาล (นายอภิชาติ จันทร์เทียน)

12. กรณีที่ 2 ผู้รับใบอนุญาตเดิมเสียชีวิตแล้วลักษณะกิจการเป็นรีสอร์ทถ้าคุณแม่มาใช้น้ำบาดาลแทนลูกชายที่ตายแล้วยังไม่ได้รับใบมรณะบัตรซึ่งก็มีทายาทของผู้ตายอยู่ด้วยเกิดปัญหากันขึ้น ซึ่งขณะนี้มีการค้างชำระค่าใช้น้ำบาดาลเป็นบางงวดอยู่ด้วย กรณีนี้จำต้องดำเนินการอย่างไร?

ตอบ : ถ้าผู้รับใบอนุญาตตายใบอนุญาตนั้นก็สิ้นสุดไปเลย เพราะใบอนุญาตน้ำบาดาลที่อนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลเป็นสิทธิเฉพาะตัวผู้ตายจะโอนใบอนุญาตไม่ได้ แต่ผู้ขอรายใหม่ก็มาขออนุญาตใช้น้ำบาดาลใหม่ได้ (นายอภิชาติ จันทร์เทียน)

จำนวนทั้งหมด 16 รายการ