ข่าวสารนํ้าบาดาล

ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรวจติดตามการดำเนินโครงการของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จ.นครปฐม และสมุทรสาคร

  • อัพเดทวันที่ 2 มิ.ย. 65
  • อ่าน 690
  • เผยแพร่โดย T ADMIN
Email
อัลบั้มภาพ 37 ภาพ
     วันที่ 2 มิถุนายน 2565 พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เดินทางไปตรวจติดตาม โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม โดยมีนายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล นายศุภเวท ทองประยูร ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 8 ราชบุรี พร้อมทั้งหัวหน้าส่วนราชการ และเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ
    สำหรับโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็น 1 ใน 15 โครงการ ในพื้นที่ 11 จังหวัด ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับ ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564 ซึ่งการดำเนินงานโครงการฯ จะได้ปริมาณน้ำ 657,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี สามารถช่วยเหลือประชาชน จำนวน 1,820 ครัวเรือน 5,961 คน ครอบคลุมพื้นที่ 17,895 ไร่ ทำให้ประชาชนมีน้ำแหล่งน้ำต้นทุนไว้สำหรับอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึงและเพียงพอ
จากนั้น พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล ราชเลขานุการในพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยังวัดสหกรณ์โฆสิตาราม ตำบลโคกขาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในการตรวจติดตาม โครงการศึกษาสำรวจแหล่งน้ำบาดาลระดับลึกพื้นที่แอ่งเจ้าพระยาตอนล่าง (ระยะที่ 3) โดยมีนายณรงค์ รักร้อย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล นายสุรินทร์ วรกิจธำรง รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดร.เกรียงศักดิ์ ภิระไร ผู้อำนวยการสำนักสำรวจและประเมินศักยภาพน้ำบาดาล และนายศุภเวท ทองประยูร ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 8 ราชบุรี ให้การต้อนรับ 
     กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ดำเนินโครงการศึกษาสำรวจแหล่งน้ำบาดาลระดับลึกพื้นที่แอ่งเจ้าพระยาตอนล่าง (ระยะที่ 3) เพื่อศึกษาสภาพธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ และข้อมูลเคลื่นไหว พร้อมดำเนินการเจาะสำรวจระดับความลึก 1,008 เมตร และเก็บตัวน้ำบาดาล เพื่อหาชั้นน้ำที่ดีที่สุด พร้อมก่อสร้างบ่อน้ำบาดาล เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรน้ำบาดาลที่มีศักยภาพน้ำบาดาลสูง เหมาะสมต่อการอุปโภคบริโภค สร้างความมั่นคงและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมสามารถนำข้อมูลศักยภาพน้ำบาดาล ไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนการบริหารจัดการน้ำภาคการผลิตในอนาคตต่อไป