ถาม - ตอบ

แจ้งคำถามที่ต้องการสอบถาม

คุณสามารถฝากคำถามที่คุณสงสัยกับทางเราได้โดยการกดปุ่ม "แจ้งคำถาม"

แบบฟอร์มแจ้งคำถาม

กรุณากรอกฟอร์มให้ครบถ้วนเพื่อแจ้งคำถาม

captcha

ค้นหาคำถาม

หากชำระค่าน้ำใช้น้ำบาดาลเกินกำหนดจะคิดค่าปรับอย่างไร

ค่าใช้น้ำบาดาลและค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล ควรชำระภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเริ่มงวดถัดไป

หากเกินระยะเวลาที่กำหนด จะต้องชำระในอัตรา ดังนี้

1.กรณีชำระเกินกำหนด 1-30 วัน ปรับ 1.1 เท่า จากค่าบริการปกติ

(เช่น ค่าบริการปกติ 1,000 บาท ปรับ 1.1 เท่า เท่ากับ 1,100 บาท)

2.กรณีชำระเกินกำหนด 31-60 วัน ปรับ 1.2 เท่า จากค่าบริการปกติ

(เช่น ค่าบริการปกติ 1,000 บาท ปรับ 1.2 เท่า เท่ากับ 1,200 บาท)

3.กรณีชำระเกินกำหนด 61-90 วัน ปรับ 1.3 เท่า จากค่าบริการปกติ

(เช่น ค่าบริการปกติ 1,000 บาท ปรับ 1.3 เท่า เท่ากับ 1,300 บาท)

4.กรณีชำระเกินกำหนด 91 วัน ปรับ 2 เท่า จากค่าบริการปกติ

(เช่น ค่าบริการปกติ 1,000 บาท ปรับ 2 เท่า เท่ากับ 2,000 บาท)

โรงเรียนและกลุ่มเกษตรที่ได้รับการสนับสนุนโครงการจากกรมทรัพยากร น้ำบาดาลจะได้รับการยกเว้นค่าใช้น้ำหรือไม่

ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 4 กำหนดให้ท้องที่ที่ไม่มีน้ำประปาใช้ ให้ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลได้รับยกเว้นค่าใช้น้ำบาดาล ดังต่อไปนี้

    1. การใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคหรือบริโภค ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการใช้น้ำบาดาลของโรงงานอุตสาหกรรม

    2. การใช้น้ำบาดาลเพื่อการเพาะปลูก

    3. การใช้น้ำบาดาลเพื่อการเลี้ยงสัตว์ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินวันละห้าสิบลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น หากโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้น ก็จะได้รับการยกเว้นค่าใช้น้ำบาดาลตามกฎกระทรวง ฯ ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นการใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคหรือบริโภค

หน่วยงานราชการมีสิทธิ์ขอยกเว้นค่าใช้น้ำบาดาลหรือไม่

ส่วนราชการได้รับการยกเว้นค่าใช้น้ำบาดาล หากอยู่ในท้องที่ที่ไม่มีน้ำประปาใช้ และเป็นการใช้น้ำบาดาล

เพื่อการอุปโภคหรือบริโภค ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวถูกกำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2540)

ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

สามารถชำระค่าใช้น้ำบาดาลทางช่องทางใดได้บ้าง

1. ชำระที่ธนาคารกรุงไทย ทุกสาขา (เงินสด/แคชเชียร์เช็ค) กรณีชำระภายในกำหนด

2. สำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด กรณีชำระเกินกำหนด

ค่าใช้น้ำบาดาลและค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลต่างกันอย่างไร

ค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล คือ เงินที่เรียกเก็บจากผู้ใช้น้ำบาดาลเพิ่มเติมจากค่าใช้น้ำบาดาล

เฉพาะในเขตพื้นที่วิกฤตการณ์น้ำบาดาล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และนครปฐม โดยต้องชำระค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลอัตราลูกบาศก์เมตรละ

4.50 บาท (สี่บาทห้าสิบสตางค์) ดังนี้

 1. ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลประเภทธุรกิจ ซึ่งบ่อน้ำบาดาลตั้งอยู่ในท้องที่ที่มีน้ำประปาใช้และไม่มีน้ำประปาใช้ (การประปานครหลวง / การประปาส่วนภูมิภาค)

 2. ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลประเภทเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ที่ใช้น้ำบาดาลเฉพาะในส่วนที่เกินกว่าวันละห้าสิบลูกบาศก์เมตร

 3. ยกเว้นค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล ในการใช้น้ำบาดาลเพื่อเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินวันละ

ห้าสิบลูกบาศก์เมตร รวมทั้งการใช้น้ำบาดาลเพื่อเกษตรเพาะปลูก และการใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคหรือบริโภค ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการใช้น้ำบาดาลของโรงงานอุตสาหกรรม

ปัจจุบันมีหลักเกณฑ์การจัดเก็บค่าใช้น้ำบาดาลอย่างไร

1. จัดเก็บทุกรายทุกประเภท (ไม่ได้รับการยกเว้น หรือได้รับการลดหย่อนค่าใช้น้ำบาดาล) ถ้าบ่อน้ำบาดาลตั้งอยู่ในท้องที่ที่มีการบริการของการประปานครหลวง หรือการประปาส่วนภูมิภาค และสามารถเชื่อมต่อระบบประปาได้

2. ยกเว้นค่าใช้น้ำบาดาล ถ้าบ่อน้ำบาดาลตั้งอยู่ในท้องที่ที่ไม่มีน้ำประปาใช้ ได้แก่

    2.1 การใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคหรือบริโภค ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการใช้น้ำบาดาลของโรงงานอุตสาหกรรม

    2.2 การใช้น้ำบาดาลเพื่อการเพาะปลูก

    2.3 การใช้น้ำบาดาลเพื่อการเลี้ยงสัตว์ เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินวันละห้าสิบลูกบาศก์เมตร

3. ลดหย่อนค่าใช้น้ำบาดาล ถ้าบ่อน้ำบาดาลตั้งอยู่ในท้องที่ที่ไม่มีน้ำประปาใช้ และไม่ได้รับยกเว้นค่าใช้
น้ำบาดาล ได้แก่

    3.1 การใช้น้ำบาดาลเพื่อการเลี้ยงสัตว์ ให้คำนวณปริมาณน้ำบาดาล เพื่อการคิดค่าใช้น้ำบาดาลเพียงร้อยละสามสิบของปริมาณน้ำบาดาลที่ใช้ หรือปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล หรือ           ที่ประเมินได้แล้วแต่กรณี

    3.2 การใช้น้ำบาดาลของโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบจากผลิตผลการเกษตรตามประเภทและชนิดที่รัฐมนตรีกำหนด ให้คำนวณปริมาณน้ำบาดาล เพื่อการคิดค่าใช้น้ำบาดาลเพียงร้อยละสามสิบของปริมาณน้ำบาดาลที่ใช้ หรือปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล หรือที่ประเมินได้แล้วแต่กรณี

    3.3 กรณีนอกจาก 3.1 และ 3.2 ให้คำนวณปริมาณน้ำบาดาล เพื่อการคิดค่าใช้น้ำบาดาลเพียงร้อยละ

เจ็ดสิบห้าของปริมาณน้ำบาดาลที่ใช้ หรือปริมาณน้ำบาดาลสูงสุดที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล

หรือที่ประเมินได้แล้วแต่กรณี

ทั้งนี้ การเรียกเก็บค่าใช้น้ำบาดาล แบ่งออกเป็น 2 เขต ได้แก่

หากต้องการแจ้งเบาะแสการลักลอบเจาะ-ใช้น้ำบาดาล ควรดำเนินการอย่างไร

สามารถแจ้งข้อมูลผ่านระบบรับเรื่องร้องเรียน e-Petition ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (http://petition.mnre.go.th ) หรือ หมายเลข 1310 กด 1 และสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล หมายเลขโทรศัพท์ 0-2666-7327 ,0-2666-7329

บนที่ดินมีบ่อน้ำบาดาลซึ่งไม่ทราบข้อมูลใครสร้างไว้ หากต้องการปิดบ่อ ควรดำเนินการอย่างไร

แนวทางที่ 1 ให้เจ้าของที่ดินแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับความเป็นมาของบ่อน้ำบาดาล และขอดำเนินการ
อุดกลบบ่อน้ำบาดาลให้ถูกต้องตามกฎหมาย

แนวทางที่ 2 หากพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ทราบว่าบ่อน้ำบาดาลเป็นของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่เคยประกอบกิจการน้ำบาดาลมาก่อนเจ้าของที่ดินปัจจุบัน (ที่เคยมีใบอนุญาตหรือไม่เคยมีใบอนุญาต)

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลดังกล่าวดำเนินการอุดกลบบ่อน้ำบาดาลให้ถูกต้องตามกฎหมาย

เจาะบ่อน้ำบาดาลและติดตั้งเครื่องสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้แล้ว แต่ยังไม่ขออนุญาตจะเสียค่าปรับเท่าไร

กรณีบ่อน้ำบาดาลที่เจาะไปแล้ว ภายหลังตรวจพบว่าไม่ได้ขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลจะต้องดำเนินคดี โดยการบันทึกเปรียบเทียบคดีความผิดตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ฐานเจาะ
น้ำบาดาล และใช้น้ำบาดาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลหรือผู้ซึ่งอธิบดี
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมอบหมาย เว้นแต่พิจารณาแล้ว พบว่าบ่อน้ำบาดาลดังกล่าวมีอายุเกินกว่า 5 ปี
ก็ให้ดำเนินการเปรียบเทียบคดีฐานใช้น้ำบาดาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล จากนั้นต้องแจ้งให้ผู้กระทำความผิดขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลให้ถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล

หากผู้ประะกอบการมีความประสงค์จะขออนุญาตใช้น้ำจากบ่อน้ำบาดาล แต่ไม่ได้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินที่บ่อน้ำบาดาลนั้นตั้งอยู่ ราชการจะสามารถออกใบอนุญาตใช้ได้หรือไม่

ถ้าเป็นที่ดินของราชการก็ต้องให้หน่วยราชการนั้นอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ก่อน หรือถ้าเป็นที่ดินส่วนบุคคล
ก็ต้องให้เจ้าของที่ดินยินยอมให้ใช้ประโยชน์โดยจัดทำเอกสารยินยอม เพื่อประกอบการขออนุญาตใช้
น้ำบาดาลก่อน จึงจะมาขออนุญาตใช้ได้ ดังนั้น ต้องทราบก่อนว่าที่ดินเป็นของใคร และต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินนั้น ๆ

ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล ขายที่ดินที่มีบ่อน้ำบาดาลตั้งอยู่ให้ผู้อื่น แล้วผู้ซื้อใหม่ต้องการใช้น้ำจากบ่อน้ำบาดาล แต่ไม่สามารถตามเจ้าของเดิมมาดำเนินการโอนใบอนุญาตได้ต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีที่ติดต่อได้ ให้เจ้าของบ่อน้ำบาดาลซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลเดิมมาโอนใบอนุญาตให้ผู้ซื้อ

รายใหม่ ถ้าติดต่อไม่ได้ให้ผู้ครอบครองที่ดินรายใหม่ยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ โดยให้เจ้าหน้าที่ยกเลิกใบอนุญาตฉบับเดิม

หากพบว่าเครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาลชำรุด ควรดำเนินการอย่างไร

หากผู้ใช้น้ำบาดาล พบว่า เครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาลชำรุด ตัวเลขไม่หมุน หรือไม่สามารถ
อ่านค่าปริมาณที่ใช้จริงได้ ต้องรีบแจ้งต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่โดยด่วน และรีบดำเนินการซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่ อย่าปล่อยทิ้งไว้ หรือเพิกเฉย เพราะหากพนักงานเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบพบเห็นในภายหลัง อาจต้องเสียค่าใช้น้ำมากกว่าปกติ เนื่องจากจะต้องถูกประเมินปริมาณน้ำ
ตามใบอนุญาตที่กำหนดไว้สูงสุด และไม่รับรองการรายงานการใช้น้ำตามแบบ นบ.11 ย้อนหลังด้วย

จำนวนทั้งหมด 42 รายการ