ถาม - ตอบ

แจ้งคำถามที่ต้องการสอบถาม

คุณสามารถฝากคำถามที่คุณสงสัยกับทางเราได้โดยการกดปุ่ม "แจ้งคำถาม"

แบบฟอร์มแจ้งคำถาม

กรุณากรอกฟอร์มให้ครบถ้วนเพื่อแจ้งคำถาม

captcha

ค้นหาคำถาม

การอนุญาตให้เจาะ-ใช้น้ำบาดาล มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง

เขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาลในท้องที่ที่ไม่มีการบริการประปาของการประปานครหลวง หรือการประปาส่วนภูมิภาค หรือมีแต่ไม่สามารถใช้หรือเชื่อมต่อระบบประปาได้ อนุญาตให้เจาะน้ำบาดาล และผ่อนผันให้ใช้
น้ำบาดาลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนไปพลางก่อนจนกว่าจะสามารถเชื่อมต่อระบบประปาได้

¡ ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 7 จังหวัด ซึ่งถูกประกาศให้เป็นเขตวิกฤตการณ์
น้ำบาดาล หากการประปานครหลวง (กปน.) หรือการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) สามารถให้บริการได้แล้ว
จะไม่อนุญาตให้เจาะน้ำบาดาลและใช้น้ำบาดาล ยกเว้นการใช้น้ำของโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นต้องใช้น้ำบาดาลเป็นวัตถุดิบ หรือในกระบวนการผลิตจะอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลร่วมกับน้ำประปาตามสัดส่วนการใช้น้ำของประเภทอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ ส่วนการใช้น้ำบาดาลในโรงพยาบาลของรัฐ สถานพยาบาลของรัฐ สถานทูต สถานีดับเพลิง และสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งสถานที่ราชการและสถานที่อื่น ๆ ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้น้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำสำรอง เพื่อการอุปโภคหรือบริโภค อนุญาตให้เจาะน้ำบาดาลและอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลเป็นบ่อสำรองได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในระเบียบกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยน้ำบาดาล

¡ ส่วนในเขตท้องที่จังหวัดอื่น ๆ นอกเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล จะอนุญาตให้เจาะน้ำบาดาลและใช้
น้ำบาดาลได้ ในพื้นที่ที่ขาดแคลนแหล่งน้ำผิวดินหรือใช้ร่วมกับน้ำผิวดินตามความเหมาะสมและความจำเป็นตามประเภทหรือลักษณะการใช้น้ำในแต่ละกิจกรรม ตามหลักการใช้น้ำร่วมกัน (Conjunctive use)

ถ้าต้องการเข้าร่วมโครงการเติมน้ำลงใต้ดิน เพื่อจะได้มีน้ำใช้ช่วงหน้าแล้ง ต้องดำเนินการอย่างไร

ปัจจุบันกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้น และรูปแบบการก่อสร้างที่เหมาะสมแก่หน่วยงานส่วนท้องถิ่น และประชาชนที่สนใจสามารถนำไปดำเนินการได้เองในพื้นที่ของตน เพื่อที่จะขยายผลให้ครอบคลุมทั้งประเทศ ซึ่งหากประชาชน และหน่วยงานใดมีความพร้อมด้านงบประมาณที่จะดำเนินการเอง สามารถติดต่อขอความอนุเคราะห์ข้อมูล และรูปแบบการก่อสร้างได้ที่

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ทั้งนี้ ใน ปี พ.ศ. 2563 – 2565 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล มีแผนที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนงบประมาณจะสามารถดำเนินโครงการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้นในพื้นที่ทั่วประเทศได้

***หากพื้นที่ใดมีความสนใจที่จะเข้าร่วมโครงการ สามารถส่งข้อมูล มาได้ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

เพื่อพิจารณาตามหลักเกณฑ์ และงบประมาณที่ได้รับต่อไป

***ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2554 เรื่อง การกำหนดขอบเขตน้ำบาดาลและความลึกของน้ำบาดาล พ.ศ.2554 กำหนดให้ท้องที่กรุงเทพมหานครและท้องที่ของแต่ละจังหวัดในราชอาณาจักรไทยเป็นเขตน้ำบาดาล และให้น้ำใต้ดินที่อยู่ลึกจากผิวดินลงไปเกินกว่า

15 เมตร เป็นน้ำบาดาล ดังนั้นในกรณีที่หน่วยงานท้องถิ่น เอกชน หรือประชาชนรายใดที่ต้องการดำเนินโครงการเติมน้ำใต้ดิน สามารถดำเนินการได้ในกรณีที่ความลึกไม่เกิน 15 เมตร ส่วนกรณีที่ความลึกเกิน

15 เมตร หากจะดำเนินการต้องขออนุญาตตามกฎหมาย

ถ้าโรงเรียนต้องการขอรับการสนับสนุนโครงการของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลต้องดำเนินการอย่างไร

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ

แบบที่ 1 โรงเรียนขนาดใหญ่ (กำลังผลิต 500 ลิตรต่อชั่วโมง)

แบบที่ 2 โรงเรียนขนาดเล็ก (กำลังผลิต 250 ลิตรต่อชั่วโมง)

ซึ่งเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่จะพิจารณาจากปัญหาความขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค ไม่มีระบบประปาให้บริการในพื้นที่ หรือแหล่งน้ำที่มีอยู่ปริมาณไม่พอเพียงในการใช้ประโยชน์

***แนะนำให้หารือกับสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขตที่รับผิดชอบในพื้นที่

เกษตรกรถ้าต้องการน้ำบาดาลสำหรับทำเกษตรจะขอรับการสนับสนุนโครงการของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลต้องดำเนินการอย่างไร

ขั้นตอนขอรับการสนับสนุนโครงการน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร

ขั้นตอนที่ 1 เกษตรกรยื่นคำขอเข้าร่วมโครงการ โดยมี อปท. เป็นผู้รับรอง*

คุณสมบัติกลุ่มเกษตรกรที่มีความพร้อมเข้าร่วมโครงการ ได้แก่

 (1) มีความพร้อมในการจัดตั้งกลุ่ม

 (2) เกษตรกรสามารถจัดตั้งกองทุนและร่วมกันกำหนดข้อตกลงสำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรร่วมกัน

 (3) พื้นที่เสนอขอรับการสนับสนุนโครงการตั้งอยู่ในพื้นที่หาแหล่งน้ำยาก หรือประสบภัยแล้ง

 (4) สมาชิกกลุ่มต้องยินยอมให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเจาะบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ของสมาชิกกลุ่ม

 (5) เจ้าของพื้นที่ที่ตั้งบ่อน้ำบาดาลต้องยินยอมให้สมาชิกของกลุ่มใช้ประโยชน์จากน้ำบาดาลร่วมกัน

การรับรองจาก อปท. * ดังนี้

 (1) รับรองว่าสมาชิกเกษตรกรทำการเกษตรในพื้นที่นั้นจริง

 (2) ยินยอมให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินโครงการฯ

 (3) เมื่อกรมทรัพยากรน้ำบาดาลดำเนินการแล้วเสร็จ อบต./ เทศบาล / ยินดีที่จะรับมอบโครงการฯ

เพื่อบริหารจัดการโครงการฯ ต่อไป

 

ขั้นตอนที่ 2 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 1-12 พิจารณาคัดกรองคุณสมบัติ ดังนี้

 (1) ด้านศักยภาพน้ำบาดาล

 (2) ด้านพื้นที่ทางเกษตรที่เข้าร่วมโครงการ

 (3) ด้านเกษตรกรและการมีส่วนร่วมของกลุ่มเกษตรกร

 (4) ด้านเศรษฐกิจสังคม

จากนั้น สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 1-12 พิจารณาผู้ผ่านเกณฑ์เข้ารูปแบบโครงการฯ

ซึ่งมี 3 รูปแบบ ได้แก่

 (1) โครงการพัฒนาระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยเครื่องสูบน้ำไฟฟ้าแบบจุ่มใต้น้ำ

      - กลุ่มเกษตรกร ไม่น้อยกว่า 4 ราย

      - พื้นที่ทางการเกษตรเข้าร่วมโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 40 ไร่

      - ระดับน้ำและปริมาณน้ำเหมาะสมกับการใช้เครื่องสูบน้ำไฟฟ้าแบบจุ่มใต้น้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

 (2) โครงการพัฒนาระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยเครื่องสูบน้ำแบบเทอร์ไบน์

      - กลุ่มเกษตรกร ไม่น้อยกว่า 4 ราย

      - พื้นที่ทางการเกษตรเข้าร่วมโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 40 ไร่

      - ระดับน้ำและปริมาณน้ำเหมาะสมกับการใช้เครื่องสูบน้ำเทอร์ไบน์แบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์

ทางการเกษตร

 

(3) โครงการพัฒนาระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์

      - กลุ่มเกษตรกร ไม่น้อยกว่า 8 ราย

      - พื้นที่ทางการเกษตรเข้าร่วมโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 60 ไร่

      - ระดับน้ำและปริมาณน้ำเหมาะสมกับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

ขั้นตอนที่ 3 สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 1-12 เสนอแผนคำขอให้ส่วนกลางพิจารณา

กรณีบ่ออุดกลบไปแล้ว หากต้องการนำกลับมาใช้ใหม่จะต้องดำเนินการอย่างไร

กรณีบ่ออุดกลบไปแล้ว การรื้อดินเหนียวหรือซีเมนต์ไม่สามารถดำเนินการเพื่อให้บ่อใช้งานดังเดิมได้

เพราะเป็นบ่อที่ถูกปิดและสิ้นสภาพการใช้งานแล้ว หากมีความประสงค์ใช้น้ำบาดาลต้องดำเนินการ

ขออนุญาตเจาะและขออนุญาตใช้น้ำบาดาลตามขั้นตอนให้ถูกต้องตามกฎหมาย

สอบถามแนวทางปฏิบัติ กรณี อบต. จะขอรื้อระบบประปาและบ่อน้ำบาดาล ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว สามารถดำเนินการได้หรือไม่

อบต. สามารถดำเนินการเองได้ ประกอบกับไม่มีความจำเป็นต้องใช้ระบบประปาแล้ว เนื่องจากไม่มีการใช้งาน / หรืออุดกลบบ่อไปแล้ว และใช้ระบบประปาจากจุดอื่น ซึ่งน่าจะเกิดผลดีต่อเจ้าของที่ดิน เพื่อป้องกันสิ่งก่อสร้าง/ถังบรรจุน้ำด้านบนไม่ได้ใช้งานแล้ว และแผ่นรองรับถังเป็นไม้ที่อาจจะชำรุดและจะร่วงหล่นมาได้ ทั้งนี้ หากเป็นบ่อของหมู่บ้านควรหารือกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ ว่ามีความเห็นตรงกันหรือไม่ ที่จะรื้อถอน ย้าย หรือจะไม่ใช้งานแล้ว เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม

จำนวนทั้งหมด 42 รายการ