ข่าวสารนํ้าบาดาล

ความกระด้างของน้ำ (Water Hardness)

  • อัพเดทวันที่ 12 มี.ค. 64
  • อ่าน 36,862
  • เผยแพร่โดย dgr24 Admin
Email
อัลบั้มภาพ 1 ภาพ
ความกระด้างของน้ำ (Water Hardness)
" You are what you eat " คุณกินอะไรเข้าไป คุณก็เป็นอย่างนั้น เป็นสำนวนที่เราคุ้นหูกันมาช้านาน
ในร่างกายของเรามีน้ำประกอบอยู่ 70%หรือ 3/4 ของร่างกาย ซึ่งในน้ำมีแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการ เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม เป็นตัน
แต่ใช่ว่าน้ำทุกชนิดจะมีประโยชน์ น้ำบางชนิดอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา ความกระด้างที่อยู่ในน้ำก็เช่นกัน ซึ่งทุกวันคนเราต้องการดื่มน้ำประมาณ 8-10 แก้วหรือ 2 ลิตรกว่าๆ
***แล้วความกระด้างเท่าไหร่ถึงจะดีต่อร่างกาย?
ความกระด้างของน้ำ คือ ปริมาณของเกลือแคลเซียมและแมกนีเซียมที่ละลายอยู่ในน้ำ จะทำให้น้ำไม่เกิดฟองกับสบู่และจะเกิดตะกอนเมื่อต้ม แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
👉 ความกระด้างชั่วคราว (temporary hardness) เกิดจากสารละลายแคลเซียมหรือแมกนีเชียมไบคาร์บอเนต เมื่อถูกความร้อนจะตกตะกอนเป็นหินปูน
👉 ความกระด้างถาวร (permanent hardness) เกิดจากเกลือคลอไรด์หรือซัลเฟต ของแคลเชียมหรือแมกนีเซียม ไม่สามารถตกตะกอนเมื่อได้รับความร้อน
.
ระดับความกระด้างในน้ำ
💦 ความกระด้าง 0-75 mg/L …น้ำอ่อน
💦 ความกระด้าง 75-150 mg/L…น้ำกระด้างปานกลาง
💦 ความกระด้าง 150-300 mg/L…น้ำกระด้าง
💦 ความกระด้าง 300 mg/L ขึ้นไป…น้ำกระด้างมาก
ความกระด้างในน้ำกับผลต่อสุขภาพ
***น้ำดื่มควรจะมีความกระด้าง
ไม่เกิน 100 mg/L
(เกณฑ์ อย. และ มอก.)
👉 ความกระด้างไม่มีผลเชิงลบต่อสุขภาพ
การดื่มน้ำที่มีความกระด้างเท่ากับดื่มน้ำที่มีแคลเซียมและแมกนีเซียมปนอยู่ด้วยซึ่งธาตุทั้งสองนี้มีผลต่อสุขภาพ ดังนี้
👉 แคลเซียม
- ช่วยในการหดตัวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ การขาดแคลเซียมหัวใจจะทำงานไม่ปกติ อาจเกิดโรคหัวใจได้
- เป็นตัวเร่ง (Co-factor) การทำงานของเอนไซม์หลายชนิดในร่างกายมนุษย์ เช่น การสร้าง DNA เป็นตัน
- ช่วยรักษาสมดุลด่างในร่างกายและช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน
👉 แมกนีเซียม
- ช่วยในการคลายตัวของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งต้องทำงานร่วมกับแคลเซียม
- เป็นตัวเร่ง (Co-factor) ให้กับเอนไซม์ ซึ่งมีหน้าที่เผาผลาญ อาหาร แป้ง น้ำตาล และไขมัน
- เป็นองค์ประกอบของเลซิติน (Lecitin) ป้องกันไม่ให้คลอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น
- ป้องกันการเกิดนิ่วเนื่องจากการจับตัวของแคลเซียมออกซาเลต (Calcium Oxalate) ในไตและในถุงน้ำดี
อ้างอิง :
- คู่มือการตรวจวิเคราะห์คุณภาพสิ่งแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
- คู่มือมาตราฐานน้ำดื่มประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
- มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเภสัชศาสตร์