Bureau of Groundwater Control
วันที่ 27 มีนาคม 2568 นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมานาเชิงปฏิบัติการโครงการเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพด้านการกำกับ ดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 - 28 มีนาคม 2568 ณ โรงแรมไมด้า แกรนด์ ทวารวดี อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม โดยมีนายปริญญา คุ้มสระพรม รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่ปรึกษากรมทรัพยากรน้ำบาดาล คณะผู้บริหารจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล เข้าร่วมประชุมสัมมนารวมทั้งสิ้น 332 ราย การประชุมสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพ สร้างองค์ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมการบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการสนับสนุนน้ำดื่ม-น้ำใช้ เพื่อความมั่นคงระดับชุมชนที่ยั่งยืน ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบกิจการน้ำบาดาล และผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล โดยมีการเสวนาหัวข้อ "น้ำบาดาลเพื่อชีวิต : การบูรณาการภาครัฐและภาคเอกชนในการสนับสนุนน้ำดื่ม-น้ำใช้ เพื่อความมั่นคงระดับชุมชนและยกระดับการบริการด้านสาธารณสุขที่ยั่งยืน" การบรรยายหัวข้อต่างๆ ได้แก่ "การบูรณาการด้านการกำกับ ควบคุมการประกอบกิจการน้ำบาดาล" "หลักกฎหมายและแนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่" "ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนกิจการด้านการควบคุม กำกับ ดูแลกิจการน้ำบาดาล เวอร์ชันที่ 3 และทิศทางในอนาคต" และมีการอภิปราย หัวข้อ "ประกาศกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการออกหนังสือรับรองวิศวกร หรือนักธรณีวิทยา พ.ศ. 2567 และประกาศกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการออกหนังสือรับรองช่างเจาะน้ำบาดาล พ.ศ. 2567 ประกาศ ณ วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567" รวมถึงการ Workshop หัวข้อ "การรับคำขอการออกหนังสือ การต่ออายุหนังสือ การออกใบแทนหนังสือรับรองวิศวกรหรือนักธรณีวิทยา หนังสือรับรองช่างเจาะน้ำบาดาล"
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ส่งเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรมตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลกรณีการต่ออายุใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล ในเขตน้ำบาดาลกรุงเทพมหานคร ประจำเดือน ธันวาคม 2567
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ส่งเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรม ลงพื้นที่ตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลในรายที่พบว่ามีความเสี่ยงหรือผิดปกติเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ คำแนะนำ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในพื้นที่เขตน้ำบาดาลจังหวัดเลย ระหว่างวันที่ 11 - 22 ธันวาคม 2567 ตามโครงการกำกับควบคุมประกอบกิจการน้ำบาดาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ผลการตรวจสอบผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความเสี่ยง จำนวน 22 ราย 62 บ่อ รายละเอียดดังนี้ 1. รายงานการใช้น้ำบาดาลเป็นศูนย์ ได้แก่ บ่อน้ำบาดาลที่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล มีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติ จำนวน 3 บ่อ บ่อน้ำบาดาลชำรุด ไม่พร้อมใช้งาน จำนวน 9 บ่อ บ่อน้ำบาดาลที่ไม่มีการใช้น้ำบาดาล เนื่องจากเป็นแหล่งน้ำสำรอง จำนวน 5 บ่อ บ่อน้ำบาดาลที่พึ่งเจาะเสร็จ จำนวน 1 บ่อ และบ่อน้ำบาดาลที่อุดกลบแล้ว จำนวน 1 บ่อ รวมทั้งสิ้น 19 บ่อ 2. มีการใช้น้ำบาดาลไม่ถึงร้อยละ 20 ของปริมาณน้ำที่ได้รับอนุญาต ได้แก่ บ่อน้ำบาดาลที่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล มีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติ จำนวน 29 บ่อ และบ่อน้ำบาดาลที่ไม่มีการใช้น้ำบาดาล จำนวน 2 บ่อ รวมทั้งสิ้น 31 บ่อ 3. มีการใช้น้ำบาดาลเกินกว่าที่ได้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล ได้แก่ บ่อน้ำบาดาลที่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล มีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติ จำนวน 9 บ่อ บ่อน้ำบาดาลที่มีการสูบใช้น้ำบาดาลเกินกว่าปริมาณน้ำที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล จำนวน 3 บ่อ (แจ้งความร้องทุกข์) รวมทั้งสิ้น 12 บ่อ ในการนี้ เจ้าหน้าที่ได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดังกล่าว ประสานพนักงานสอบสวนเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรเอราวัณ ความผิดตามมาตรา 22 ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต และต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรี ที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 37 และ 39 จำนวน 3 บ่อ 3 คดี เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไป
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ส่งเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรม ตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลในรายที่พบว่ามีความเสี่ยงหรือผิดปกติเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ คำแนะนำ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 9..–..21..ธันวาคม 2567 ตามโครงการกำกับควบคุมประกอบกิจการน้ำบาดาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สรุปผลการตรวจสอบผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล จำนวน 37 ราย 70 บ่อ พบว่า 1. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความเสี่ยงประเภทรายงานการใช้น้ำบาดาลเป็นศูนย์ ดังนี้ เครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาลชำรุดเจ้าหน้าที่ให้เปลี่ยนเครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาลใหม่ จำนวน 7 บ่อ ไม่มีการใช้น้ำบาดาลแล้วและแจ้งให้ดำเนินการอุดกลบ จำนวน 6.บ่อ มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลสูบใช้ในสถานประกอบการใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลสิ้นอายุแล้ว จำนวน 2 บ่อ (แจ้งความร้องทุกข์) มีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติส่งรายงานการใช้น้ำบาดาล (นบ./11) ทุกเดือน จำนวน 2 บ่อ ไม่มีการจัดเก็บค่าใช้น้ำบาดาลในปี พ.ศ. 2567 และผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาคร่วมด้วย จำนวน 1 บ่อ รวมทั้งสิ้น 18 บ่อ 2. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความเสี่ยงประเภทมีการใช้น้ำบาดาลไม่ถึง 20% ของปริมาณน้ำที่ได้รับอนุญาต ดังนี้ มีบ่อน้ำบาดาลที่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล มีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติ จำนวน 27 บ่อ เครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาลชำรุดเจ้าหน้าที่ให้เปลี่ยนเครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาลใหม่ จำนวน 1 บ่อ และผู้ประกอบการมีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่สูบใช้ในสถานประกอบการใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลสิ้นอายุแล้ว จำนวน 2 บ่อ (แจ้งความร้องทุกข์) รวมทั้งสิ้น 30 บ่อ 3. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลรายที่มีความเสี่ยงประเภทเสี่ยงใช้น้ำบาดาลเกิน ดังนี้ มีบ่อน้ำบาดาลที่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล มีการสูบใช้น้ำบาดาลเสี่ยงใช้เกิน จำนวน 9 บ่อ พบว่ามีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่สูบใช้ในสถานประกอบการใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลสิ้นอายุแล้ว จำนวน 4 บ่อ (แจ้งความร้องทุกข์) และมีการสูบใช้น้ำบาดาลเกินกว่าปริมาณน้ำที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล (รายงานการใช้น้ำต่ำกว่าตัวเลขที่ปรากฏบนหน้าปัดเครื่องวัดปริมาณน้ำ (แจ้งความร้องทุกข์)) แจ้งให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่เขตน้ำบาดาลจังหวัดเชียงใหม่ จัดเก็บค่าใช้น้ำบาดาลให้เป็นไปตามความเป็นจริงในไตรมาสต่อไป และเป็นการกระทำความผิดโดยไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 4 บ่อ รวมทั้งสิ้น 17 บ่อ 4. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลมีใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาลถูกต้อง แต่ไม่ขอรับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล จำนวน 2 บ่อ และผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลบางรายมีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลปกติ แต่ตรวจพบบ่อน้ำบาดาลเพิ่มเติมในสถานประกอบกิจการ จำนวน 3.บ่อ รวมทั้งสิ้น 5 บ่อ ความผิดตามมาตรา 16 ฐานประกอบกิจการน้ำบาดาล โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย บ่อนอกระบบ (ใช้น้ำบาดาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาต) ในการนี้เจ้าหน้าที่ได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดังกล่าว เข้าพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรสันกำแพง สถานีตำรวจภูธรฮอด สถานีตำรวจภูธรจอมทอง สถานีตำรวจภูธรดอยหล่อ สถานีตำรวจภูธรดอยสะเก็ด สถานีตำรวจภูธรแม่ปิง และสถานีตำรวจภูธรหนองตอง จังหวัดเชียงใหม่ ความผิดตามมาตรา 16 ฐานประกอบกิจการน้ำบาดาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (เจาะและใช้น้ำบาดาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาต) จำนวน 10 คดี ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 36 ทวิ และความผิดตามมาตรา 22 ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต และต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 37,39 จำนวน 2 คดี เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไป
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ส่งเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรมร่วมกับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตรวจสอบตรวจสอบข้อเท็จจริงในการออกใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาลหรือใช้น้ำบาดาลในพื้นที่หมู่บ้านจัดสรรของหมู่บ้านดีดีแลนด์ ตามระบบ e-Petition ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในวันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567 ผลการตรวจสอบตามข้อร้องเรียน ปรากฎข้อเท็จจริงว่า ผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล จำนวน 4 ราย ได้แก่ นางสาววราภรณ์ สำเร็จผลดี, นางสาวศรีนวล ขันธจิตร์, นายฐิติพันธ์ สำเร็จผลดี และนางกรณ์ภัสสร ตันติอาภรณ์กุล ได้รับอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลจำนวน 8 บ่อ สภาพการใช้งานของบ่อน้ำบาดาลปกติ นอกจากนี้จากการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการและขั้นตอนการออกใบอนุญาตเจาะและใช้น้ำบาดาล เป็นไปตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมีผู้รับใบอนุญาตมีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินของบ่อน้ำบาดาล ตรงกับชื่อของผู้รับใบอนุญาตเจาะน้ำบาดาลและใช้น้ำบาดาล ในการนี้ เจ้าหน้าที่ได้แจ้งผู้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติมอย่างเคร่งครัด และดำเนินการแจ้งผลการตรวจสอบให้กับผู้ร้องเรียนและสำนักงานปลัดกระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อทราบต่อไป
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ส่งเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรม ตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลในรายที่พบว่ามีความเสี่ยงหรือผิดปกติเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ คำแนะนำ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในเขตพื้นที่จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 25 พฤศจิกายน - 6 ธันวาคม 2567 ตามโครงการกำกับควบคุมประกอบกิจการน้ำบาดาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผลการตรวจสอบผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล จำนวน 52 ราย 57 บ่อ ดังนี้ 1. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความเสี่ยงประเภทรายงานการใช้น้ำบาดาลเป็นศูนย์ ดังนี้ บ่อน้ำบาดาลที่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล มีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติ จำนวน 15 บ่อ บ่อน้ำบาดาลอยู่ในสภาพไม่พร้อมใช้งาน จำนวน 4 บ่อ บ่อน้ำบาดาลที่ไม่สามารถเข้าตรวจสอบได้ จำนวน 2 บ่อ และผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลไม่มีการใช้น้ำบาดาลแล้ว จำนวน 2 บ่อ รวมทั้งสิ้น 23 บ่อ 2. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความเสี่ยงประเภทมีการใช้น้ำบาดาลไม่ถึง 20% ของปริมาณน้ำที่ได้รับอนุญาต เป็นบ่อน้ำบาดาลที่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลมีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติ จำนวนทั้งสิ้น 30 บ่อ 3. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความเสี่ยงประเภทใช้น้ำบาดาลเกินกว่าที่ได้รับในใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล เป็นบ่อน้ำบาดาลที่มี ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลมีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติ จำนวนทั้งสิ้น 4 บ่อ
วันที่ 27 - 28 พฤศจิกายน 2567 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ส่งเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรม ลงพื้นที่ตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลของบริษัทเอกชนรายหนึ่งในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร โดยมีประชาชนรายหนึ่งแจ้งเหตุต้องสงสัยว่าจะมีการลักลอบประกอบกิจการน้ำบาดาล โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ทั้งนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลในเบื้องต้นพบว่าผู้ประกอบกิจการรายนี้ได้รับใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลประเภทธุรกิจ จำนวน 1 บ่อ โดยต้องสูบน้ำจากบ่อ น้ำบาดาลไม่เกินกว่าเดือนละ 14,000 ลูกบาศก์เมตร เจ้าหน้าที่จึงสามารถเข้าตรวจสอบได้ตามอำนาจหน้าที่ และจากการลงพื้นที่ตรวจสอบและสอบถามข้อมูลการใช้น้ำในสถานประกอบการ รวมถึงกำลังการผลิต เป็นที่น่าสงสัยว่าจะมีการใช้น้ำในปริมาณที่มาก และการใช้น้ำไม่สอดคล้องกับกำลังการผลิตในแต่ละไตรมาสของบริษัทฯ ซึ่งมีบ่อน้ำบาดาลเพียงบ่อเดียว และติดตั้งระบบประปาจากการประปาส่วนภูมิภาคร่วมด้วย มีการใช้น้ำประปา ในปริมาณที่น้อย เจ้าหน้าที่จึงขออนุญาตเข้าตรวจสอบระบบสาธารณูปโภคของโรงงานจากเอกสารแผนผังระบบการติดตั้งท่อภายใน พร้อมเดินตรวจสอบตามเส้นท่อในผังของโรงงานดังกล่าว ปรากฏว่าพบบ่อน้ำบาดาลขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 มิลลิเมตร จำนวน 2 บ่อ มีการสูบใช้น้ำบาดาลจากบ่อดังกล่าวในขณะตรวจสอบร่วมด้วย เจ้าหน้าที่จึงถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐาน และรวบรวมเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการ แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรบางโทรัด จังหวัดสมุทรสาคร ในความผิดฐานประกอบกิจการน้ำบาดาลโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ในเบื้องต้นให้การรับสารภาพทุกข้อกล่าวหา จึงแนะนำให้ดำเนินการยื่นคำขอใช้น้ำบาดาล ต่อพนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่เขตน้ำบาดาล จังหวัดสมุทรสาครด้วยแล้ว และดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ส่งเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรม ตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลกรณีการต่อายุใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล ในเขตน้ำบาดาลกรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2567
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ส่งเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรม ตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลในรายที่พบว่ามีความเสี่ยงหรือผิดปกติเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ คำแนะนำ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในเขตพื้นที่จังหวัดชุมพร ระหว่างวันที่ 12 - 23 พฤศจิกายน 2567 ตามโครงการกำกับควบคุมประกอบกิจการน้ำบาดาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผลการตรวจสอบผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล จำนวน 15 ราย 58 บ่อ ดังนี้ 1. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความเสี่ยงประเภทรายงานการใช้น้ำบาดาลเป็นศูนย์ ดังนี้ บ่อน้ำบาดาลที่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล มีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติ จำนวน 5 บ่อ บ่อน้ำบาดาลอยู่ระหว่างการซ่อมบ่อน้ำบาดาล จำนวน 4 บ่อ อุดกลบบ่อน้ำบาดาลแล้ว จำนวน 4 บ่อ และผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลไม่มีการใช้น้ำบาดาลแล้ว จำนวน 5 บ่อ รวมทั้งสิ้น 18 บ่อ 2. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความเสี่ยงประเภทมีการใช้น้ำบาดาลไม่ถึง 20% ของปริมาณน้ำที่ได้รับอนุญาต ดังนี้ มีบ่อน้ำบาดาล ที่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลมีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติ จำนวน 29 บ่อ บ่อน้ำบาดาลชำรุด จำนวน 3 บ่อ ไม่มีการใช้น้ำบาดาลแล้ว แจ้งให้ดำเนินการ อุดกลบ จำนวน 1 บ่อ และบ่อน้ำบาดาลไม่สามารถตรวจสอบได้ เนื่องจากเกิดเหตุน้ำป่าไหลท่วมพื้นที่บ่อน้ำบาดาล จำนวน 3 บ่อ รวมทั้งสิ้น 36 บ่อ ในการนี้ เจ้าหน้าที่ได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดังกล่าว ประสานพนักงานสอบสวนเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ความผิดตามมาตรา 22 ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต และต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 37 และ 39 จำนวน 4 บ่อ 5 คดี เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไป
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ส่งเจ้าหน้าที่ส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรม ตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลในรายที่พบว่ามีความเสี่ยงหรือผิดปกติเกี่ยวกับการประกอบกิจการน้ำบาดาล พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ คำแนะนำ เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 10 – 22 พฤศจิกายน 2567 ตามโครงการกำกับควบคุมประกอบกิจการน้ำบาดาล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ผลการตรวจสอบผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาล จำนวน 25 ราย 72 บ่อ 1. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความเสี่ยงประเภทรายงานการใช้น้ำบาดาลเป็นศูนย์ ดังนี้ บางรายเครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาลชำรุดเจ้าหน้าที่ให้เปลี่ยนเครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาลใหม่ จำนวน 6 บ่อ บางรายไม่ติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาล ได้แจ้งพนักงาน น้ำบาดาลประจำท้องที่เขตน้ำบาดาลจังหวัดอุบลราชธานี ประเมินค่าใช้น้ำบาดาลตามใบอนุญาตสูงสุด จำนวน 8 บ่อ บางรายมีบ่อน้ำบาดาลเจาะใหม่และแจ้งให้ดำเนินการติดตั้งเครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาล จำนวน 5 บ่อ บางรายไม่มีการใช้น้ำบาดาลแล้วและแจ้งให้ดำเนินการอุดกลบ จำนวน 3.บ่อ และผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลใช้น้ำจากการประปาส่วนภูมิภาคร่วมด้วย จำนวน 2 บ่อ รวมทั้งสิ้น 24 บ่อ 2. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความเสี่ยงประเภทมีการใช้น้ำบาดาลไม่ถึง 20% ของปริมาณน้ำที่ได้รับอนุญาต ดังนี้ บางรายมีบ่อน้ำบาดาลที่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล มีการสูบใช้น้ำบาดาลปกติ จำนวน 24 บ่อ บางรายเครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาลชำรุดเจ้าหน้าที่ให้เปลี่ยนเครื่องวัดปริมาณน้ำประจำบ่อน้ำบาดาลใหม่ จำนวน 4 บ่อ บางรายไม่มีการใช้น้ำบาดาลแล้ว แจ้งให้ดำเนินการอุดกลบ จำนวน 2.บ่อ และผู้ประกอบการมีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลที่สูบใช้ในสถานประกอบการใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลสิ้นอายุแล้ว จำนวน 2 บ่อ รวมทั้งสิ้น 32 บ่อ 3. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลรายที่มีความเสี่ยงประเภทรายงานการใช้น้ำอัตราคงที่ พบว่ามีการรายงานการใช้น้ำบาดาลไม่ถูกต้อง จึงแจ้งให้ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลรายงานการใช้น้ำบาดาลให้ถูกต้อง จำนวน 1 บ่อ รวมทั้งสิ้น 1 บ่อ 4. ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลรายที่มีความเสี่ยงประเภทเสี่ยงใช้น้ำบาดาลเกิน มีการสูบใช้น้ำบาดาลเกินกว่าปริมาณน้ำที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล (รายงานการใช้น้ำต่ำกว่าตัวเลขที่ปรากฏบนหน้าปัดเครื่องวัดปริมาณน้ำ) แจ้งให้พนักงานน้ำบาดาลประจำท้องที่เขตน้ำบาดาลจังหวัดอุบลราชธานี จัดเก็บค่าใช้น้ำบาดาลให้เป็นไปตามความเป็นจริงในไตรมาสต่อไป และเป็นการกระทำความผิดโดยไม่ปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 15 บ่อ รวมทั้งสิ้น 15 บ่อ ในการนี้เจ้าหน้าที่ได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดดังกล่าว เข้าพบพนักงานสอบสวนแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานี สถานีตำรวจภูธรเดชอุดม สถานีตำรวจภูธรบุณฑริก สถานีตำรวจภูธรพิบูลมังสาหาร และสถานีตำรวจภูธรตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ความผิดตามมาตรา 16 ฐานประกอบกิจการน้ำบาดาล โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย (ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลสิ้นอายุ) จำนวน 2 คดี ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 36 ทวิ และความผิดตามมาตรา 22 ผู้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในใบอนุญาต และต้องปฏิบัติตามประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 37 จำนวน 14 คดี เพื่อดำเนินการตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อไป
วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2567 นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มอบหมายให้ ดร.สุทธิพล เอี่ยมประเสริฐกุล ผู้อำนวยการสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ร่วมงานเนื่องในโอกาสวันสถาปนาสำนักงาน ป.ป.ช. ครบรอบ 25 ปี ณ สำนักงาน ป.ป.ช. อาคาร 4 ถนนนนทบุรี ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ร่วม บริจาคเงิน เพื่อสนับสนุนโครงการสงเคราะห์ผู้ป่วยติดเชื้อ และผู้ป่วยโรคเอดส์ ผู้สูงอายุ ตลอดจนผู้พิการ ให้แก่วัดพระบาทน้ำพุ ตำบลเขาสามยอด อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2567 นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มอบหมายให้ ดร.สุทธิพล เอี่ยมประเสริฐกุล ผู้อำนวยการสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน คณะที่หนึ่ง ณ ห้องประชุมกรรมาธิการ N 410 ชั้น 4 อาคารรัฐสภา โดยมี นายจรยุทธ จตุรพรประสิทธิ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 3 เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีผู้แทนจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมชลประทาน การประปาส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และกรมอนามัย เข้าร่วมประชุมด้วย โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณา และศึกษาโครงสร้าง การให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทั้งด้านการประปา และการจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค โดยเชิญผู้แทน จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลต่อคณะอนุกรรมาธิการ
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2567 นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มอบหมายให้ ดร.สุทธิพล เอี่ยมประเสริฐกุล ผู้อำนวยการสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการประกอบกิจการด้านน้ำประปาและน้ำเสีย ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 8 อาคาร 1 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมี นางวชิรญา เพิ่มภูศรี รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรน้ำ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ การประปานครหลวง องค์การจัดการ น้ำเสีย และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย โดยที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางการบูรณาการในการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านทรัพยากรน้ำ และด้านบริหารจัดการน้ำเสีย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการส่งเสริม กำกับ ดูแลการประกอบกิจการด้านน้ำประปาและน้ำเสียให้มากยิ่งขึ้น
วันที่ 24 ตุลาคม 2567 เวลา 13.30 น. สำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาลจัดประชุมสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ครั้งที่ 2/2567 เพื่อมอบนโยบายของสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 8 อาคาร 1 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดย นายสุทธิพล เอี่ยมประเสริฐกุล ผู้อำนวยการสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล เป็นประธานการประชุม พร้อมร่วมรับทราบและแนะแนวทิศทางการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายของทุกหน่วยงานในสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล จัดฝึกอบรมหลักสูตร“เสริมสร้างประสิทธิภาพในการกำกับ ควบคุมการประกอบกิจการน้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 สำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบกิจการน้ำบาดาล” โครงการเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพด้านการกำกับ ดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ครั้งที่ 3/2567 ระหว่างวันที่ 5 - 6 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรม เบสท์ เวสเทิร์น นาดา ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล โดยอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมอบหมายให้ นายสุดใจ วงชารี ผู้อำนวยการสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม และนายสุชาติ ชินวรรณโชติ ผู้อำนวยการส่วนแผนงานและประเมินผล กล่าวรายงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจ ให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกอบกิจการน้ำบาดาล ซึ่งมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรมจากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด จำนวน 31 จังหวัด สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวน 4 เขต และสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล รวมทั้งสิ้น 100 ราย ทั้งนี้เจ้าหน้าที่กองบัญชาการศึกษา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานอัยการภาค 6 ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติในการแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีอาญา ข้อขัดข้องในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย การละเมิดและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และหลักกฎหมายแพ่งที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520
นายกุศล โชติรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มอบหมายให้นางสาวพิมพ์ชนก ภู่ประดับ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล สั่งการให้ส่วนแผนงานและประเมินผล และส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรม ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน การตรวจสอบและนำเข้าข้อมูลบ่อน้ำบาดาลในระบบสารสนเทศเพื่อการควบคุมกิจการน้ำบาดาล (GCL) โครงการเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพด้านการกำกับ ดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรคด้านต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานในโครงการฯ รวมถึงประเด็นข้อสังเกตของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในรายงานการตรวจพื้นที่ฯ ปี พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสงขลา
นายกุศล โชติรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มอบหมายให้นางสาวพิมพ์ชนก ภู่ประดับ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล สั่งการให้ส่วนแผนงานและประเมินผล และส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรม ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน การตรวจสอบและนำเข้าข้อมูลบ่อน้ำบาดาลในระบบสารสนเทศเพื่อการควบคุมกิจการน้ำบาดาล (GCL) โครงการเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพด้านการกำกับ ดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรคด้านต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานในโครงการฯ รวมถึงประเด็นข้อสังเกตของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในรายงานการตรวจพื้นที่ฯ ปี พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตรัง
นายกุศล โชติรัตน์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรักษาราชการแทนอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มอบหมายให้นางสาวพิมพ์ชนก ภู่ประดับ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล สั่งการให้ส่วนแผนงานและประเมินผล และส่วนปฏิบัติการด้านเทคนิคและฝึกอบรม ลงพื้นที่เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน การตรวจสอบและนำเข้าข้อมูลบ่อน้ำบาดาลในระบบสารสนเทศเพื่อการควบคุมกิจการน้ำบาดาล (GCL) โครงการเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพด้านการกำกับ ดูแลการประกอบกิจการน้ำบาดาล ตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ปัญหาอุปสรรคด้านต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานในโครงการฯ รวมถึงประเด็นข้อสังเกตของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในรายงานการตรวจพื้นที่ฯ ปี พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทางเราได้เปลี่ยนรหัสผ่านของท่านเรียบร้อยแล้ว ขอขอบพระคุณที่ใช้บริการ
ทางเราได้โพสความคิดเห็นของท่านเรียบร้อยแล้ว ขอขอบพระคุณที่ใช้บริการ
กรุณากดปุ่ม "ยืนยัน" เพื่อส่งการแจ้งลบความคิดเห็น
ทางเราได้ตั้งกระทู้ของท่านเรียบร้อยแล้ว ขอขอบพระคุณที่ใช้บริการ
กรุณากรอกอีเมลของท่านแล้วลองใหม่อีกครั้ง