ข่าวสารนํ้าบาดาล

โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาตาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งช้ำซากหรือน้ำเค็ม จำนวน 21 แห่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

  • อัพเดทวันที่ 3 ม.ค. 66
  • อ่าน 242
  • เผยแพร่โดย นรินทร์ภัทร สสิพรรณ์
Email

1) หลักการและเหตุผลของโครงการ
               ปัจจุบันนอกจากความต้องการใช้น้ำของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นจากการขยายตัวของชุมขนแล้ว ผลกระทบจากปัญหาความแห้งแล้งซึ่งรุนแรงขึ้นทุกปี ยังส่งผลให้หลายพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ขาตแคลนน้ำ มีปัญหาคุณภาพน้ำกร่อยเค็ม จึงมีความต้องการน้ำเพิ่มมากขึ้น แหล่งน้ำผิวดินที่มีในพื้นที่ก็มักจะมีน้ำเพียงพอให้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคเพียงแค่ในช่วงฤดูผนเท่านั้น ส่วนน้ำบาดาลในพื้นที่ก็ไม่สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากมีศักยภาพต่ำ หรือมีชั้นน้ำบาดาลอยู่ในระดับลึกและถูกปิดทับตัวยชั้นดินเหนียวหนา ส่งผลให้ต้องลงทุนสูงในการพัฒนา หรือในบางพื้นที่มีปัญหาด้านคุณภาพน้ำบาดาลด่าง (ตัวอย่างเช่น น้ำกร่อย - เค็ม หรือมีสารละลายเหล็ก/เมงกานีสสูงเกินมาตรฐานน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก เป็นต้น) ส่งผลให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดหาน้ำ ต้องให้ความช่วยเหลือในช่วงฤดูแล้งหรือยามเกิดวิกฤตภัยแล้ง
               กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งช้ำซากหรือน้ำเค็ม เพื่อให้ประชาชนมีน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคที่มีคุณภาพตีและมีปริมาณเพียงพอครอบคลุมทุกพื้นที่ สามารถตอบสนองต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชนได้อย่างทันท่วงที และเพื่อเป็นจุดให้บริการน้ำในยามเกิดวิกฤตภัยแล้งด้วย โดยการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม เพื่อส่งให้กับพื้นที่เป้าหมายที่มีความต้องการน้ำและประสบบัญหาขาดแคลนน้ำด้วยเทคโนโลยีการส่งน้ำระยะไกล

 

2) วัตถุประสงค์
               เพื่อเจาะและพัฒนาบ่อน้ำบาดาลในพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม พร้อมก่อสร้างระบบประปาบาดาสด้วยเทคโนโลยีการส่งน้ำระยะไกล เพื่อส่งให้กับพื้นที่เป้าหมายที่เสี่ยงประสบปัญหาภัยแล้งหรือมีปัญหาด้านคุณภาพน้ำ หรือพื้นที่ที่มีระบบประปาแล้วแต่ไม่สามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุมและเพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชน

 

3) กิจกรรม/วิธีดำเนินการ (Activity)    

                กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จะดำเนินงานโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

               (1) ศึกษา คัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม
                              (1.1) สำรวจพื้นที่ดำเนินโครงการ ชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เป้าหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำรวจความพร้อมของชุมชน
                              (1.2) การดำเนินงานสำรวจภาคสนามต่อไป รวมทั้ง ศึกษา รวบรวมและทบทวนข้อมูลเบื้องต้นด้านสภาพธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา ศักยภาพน้ำบาดาลทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพน้ำบาดาล เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์พื้นที่
น้ำบาดาลที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ

                              (1.3) สำรวจข้อมูลภาคสนามเพิ่มเติม ประกอบด้วย ข้อมูลทางด้านธรณีวิทยา ธรณีวิทยาสัณฐาน อุทกธรณีวิทยา และข้อมูลบ่อน้ำบาดาล พร้อมทั้งทำการตรวจวัดระดับและคุณภาพน้ำบาดาล และสำรวจธรณีฟิสิกส์บนผิวดิน (Surface Geophysical Investigation) เพื่อหาขอบเขตการแผ่กระจายตัวของหน่วยหินทางอุทกธรณีวิทยา (Boundary of Hydrogeological Units) และลักษณะของชั้นดินชั้นหิน ด้วยวิธีวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะในแนวดิ่ง (Resistivity Survey Method, Vertical Electrical-Resistivity Sounding, VES) ด้วยวิธีการสำรวจธรณีฟิสิกส์บนผิวดินที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูล และทำการแปลความหมายข้อมูล
ด้านอุทกธรณีที่ได้จากการสำรวจธรณีฟิสิกส์ เพื่อกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ำบาดาลเบื้องต้น และกำหนดตำแหน่งเจาะบ่อสำรวจและบ่อน้ำบาดาล

                              (1.4) เจาะและพัฒนาบ่อน้ำบาดาล ขนาด 6 นิ้ว โดยจะต้องลงท่อ PVC ชั้น 13.5 มอก.17-2561 ขนาดเดียวกันตลอดความลึกของการพัฒนาบ่อและติดแผ่นป้ายแสดงหมายเลขบ่อ ความลึกเจาะ และความลึกพัฒนาตามรูปแบบของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พร้อมทั้งก่อสร้างบ่อน้ำบาดาลตามมาตรฐานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการแทรกสลับระหว่างชั้นน้ำจืดและน้ำเค็มต้องพัฒนาและก่อสร้างบ่อแบบ Natural Gravel Pack และทำการปิดทับด้วยซีเมนต์ และจัดทำข้อมูลทางวิชาการสำหรับหมู่บ้านที่สามารถหาแหล่งน้ำบาดาลได้ พร้อมแนวทางแก้ปัญหาและข้อเสนอแนะให้กับหมู่บ้านที่ไม่มีศักยภาพแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง
                              (1.5) สูบทดสอบปริมาณน้ำด้วยอัตราการสูบคงที่ (Constant-rate Pumping Test) โดยดำเนินการสูบทดสอบปริมาณน้ำ เป็นระยะเวลา 10 ชั่วโมง หรือจนกว่าระดับน้ำจะคงที่ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง และวัดระดับน้ำคืนตัว (Recovery Test) จนกว่าระดับน้ำจะคืนตัวถึงระดับน้ำก่อนสูบ เพื่อหาคุณสมบัติทางชลศาสตร์ของชั้นน้ำบาดาลต่างๆ (Hydraulic Properties of Aquifers) ได้แก่ สัมประสิทธิ์การจ่ายน้ำ (Transmissivity, T) สัมประสิทธิ์การยอมให้น้ำซึมผ่าน (Hydraulic Conductivity, K) และสัมประสิทธิ์การกักเก็บ (Storativity, S) เพื่อนำไปกำหนดขนาดเครื่องสูบน้ำบาดาล พร้อมทั้งเก็บน้ำตัวอย่าง เพื่อทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลทั้งทางกายภาพและทางเคมี (Physical and Chemical Quality of Groundwater) แบบสมบูรณ์ เพื่อนำผลวิเคราะห์ที่ได้ไปใช้ในการแปลความหมายและประมวลผลข้อมูลในลำดับต่อไป ทั้งนี้การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดังกล่าวอ้างอิงตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ยกเว้นกรณีที่พบสารปนเปื้อนหรือ
ค่าผิดปกติที่จะมีผลต่อชั้นน้ำบาดาลสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนตัวอย่าง และการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก่อน

               (2) ก่อสร้างระบบประปาบาดาล
                              ก่อสร้างระบบประปาบาดาลพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำและวางท่อกระจายน้ำด้วยเทคโนโลยีการส่งน้ำระยะไกล 

               (3) ชี้แจงและนำเสนอแนวทางการดำเนินโครงการพร้อมทั้งรับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ความต้องการ ปัญหาและอุปสรรคแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน อีกทั้งติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ ควบคุมการก่อสร้าง บริหารสัญญา จัดทำรายงานทางวิชาการและอื่นๆ

 

4) รูปแบบของโครงการ

               (1) โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาตาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งช้ำซากหรือน้ำเค็ม รูปแบบที่ 1 จำนวน 20 แห่ง

                              หลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่

                                             (1) พื้นที่เป้าหมายจะต้องเป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ  ระบบประปาเดิมไม่เพียงพอ หรือมีปัญหาด้านคุณภาพน้ำ
                                             (2) พื้นที่เจาะบ่อน้ำบาดาล ควรมีศักยภาพน้ำมากกว่า 7 ลบ.ม./ชม.
                                             (3) มีความพร้อมด้านพื้นที่สำหรับก่อสร้างระบบประปา
                                             (4) ท้องถิ่นและกลุ่มผู้ใช้น้ำมีความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำและดูแลบำรุงรักษาระบบประปา
                                             (5) จำนวนผู้ได้รับประโยชน์ ไม่น้อยกว่า  150  ครัวเรือน

               (2) โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาตาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งช้ำซากหรือน้ำเค็ม รูปแบบที่ 2 จำนวน 1 แห่ง

                              หลักเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่

                                             (1) พื้นที่เป้าหมายจะต้องเป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ  ระบบประปาเดิมไม่เพียงพอ หรือมีปัญหาด้านคุณภาพน้ำ
                                             (2) พื้นที่เจาะบ่อน้ำบาดาล ควรมีศักยภาพน้ำมากกว่า 7 ลบ.ม./ชม.
                                             (3) มีความพร้อมด้านพื้นที่สำหรับก่อสร้างระบบประปา
                                             (4) ท้องถิ่นและกลุ่มผู้ใช้น้ำมีความพร้อมในการบริหารจัดการน้ำและดูแลบำรุงรักษาระบบประปา
                                             (5) จำนวนผู้ได้รับประโยชน์ ไม่น้อยกว่า 750 ครัวเรือน

 

5) สถานที่ดำเนินการ

               โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาตาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งช้ำซากหรือน้ำเค็ม รูปแบบที่ 1 จำนวน 20 แห่ง รายละเอียดสถานที่ดังนี้
                              (1) บ้านสระลงเรือ หมู่ที่ 1 ตำบลสระลงเรือ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี
                              (2) บ้านย่าสร้อย หมู่ที่ 8 ตำบลธรรมามูล อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
                              (3) บ้านหนองหิน หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบ่มกล้วย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี
                              (4) บ้านคีรีวัน หมู่ที่ 1 ตำบลศรีนาวา อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
                              (5) บ้านแหลมลิง หมู่ที่ 6 ตำบลบางกระเบา อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี
                              (6) บ้านสะแกราบ หมู่ที่ 9 ตำบลสะแกราบ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
                              (7) บ้านจานใต้ หมู่ที่ 11 ตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
                              (8) บ้านบัวพักเกวียน หมู่ที่ 1 ตำบลกวางโจน อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
                              (9) บ้านสองคร หมู่ที่ 4 ตำบลหนองตะไก้ อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา
                              (10) บ้านหนองตะขบ หมู่ที่ 4 ตำบลโคกตูม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
                              (11) บ้านชุมชนเมืองใหม่ หมู่ที่ 2 ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
                              (12) บ้านใหม่เริงกระพง หมู่ที่ 13 ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร
                              (13) บ้านสงกระสา หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งยางเมือง อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย
                              (14) บ้านทุ่งยั้งใต้ หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
                              (15) บ้านไร่ใน หมู่ที่ 1 ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                              (16) บ้านคลองใหญ่พัฒนา หมู่ที่ 9 ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว
                              (17) บ้านเวินพระบาท หมู่ที่ 1 ตำบลเวินพระบาท อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
                              (18) บ้านนาสมบูรณ์ หมู่ที่ 10 ตำบลป่าไร่ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร
                              (19) บ้านโนนสง่า หมู่ที่ 7 ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย
                              (20) บ้านเขาพังอิฐ หมู่ที่ 5 ตำบลแพรกหา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

               โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาตาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งช้ำซากหรือน้ำเค็ม รูปแบบที่ 2 จำนวน 1 แห่ง รายละเอียดสถานที่ดังนี้
                              (1) บ้านศรีสุข หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลำภู

 

6) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

               (1) ประชาชนมีแหล่งน้ำบาดาลสำหรับการอุปโภคบริโภค
               (2) ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำบาดาล 
               (3) ประชาชนเกิดความตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรน้ำบาดาล
               (4) หมู่บ้านในพื้นที่ขาดแคลนน้ำได้รับการแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น