ข่าวสารนํ้าบาดาล

โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน จำนวน 85 แห่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

  • อัพเดทวันที่ 3 ม.ค. 66
  • อ่าน 450
  • เผยแพร่โดย นรินทร์ภัทร สสิพรรณ์
Email

1) หลักการและเหตุผลของโครงการ
               ในขณะที่ปริมาณน้ำจากแหล่งน้ำขนาดใหญ่มีแนวโน้มที่จะลดลง อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังน้ำน้อย ต้องรักษาไว้เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างเพียงพอสำหรับ 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ เพื่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และผลักดันน้ำเค็ม ส่งผลให้ปริมาณน้ำไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ทำให้มีความเสี่ยงที่จะประสบปัญหาวิกฤติภัยแล้งอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชนและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ที่มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคต้องดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้น้ำของประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง และประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งได้อย่างทันท่วงที
               อีกทั้ง ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มากขึ้น ทำให้การขยายตัวของความเป็นเมืองมากขึ้น ชุมชนมีขนาดใหญ่ขึ้น ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจึงมากขึ้นตามไปด้วย ปัญหาเรื่องน้ำจึงเป็นปัญหา ที่ได้รับความสําคัญเป็นลําดับแรกๆ เนื่องจากวิกฤติด้านน้ำมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศที่ขาดการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ดี และไม่มีความมั่นคงในด้านน้ำ จะพบกับอุปสรรคและข้อจํากัดต่างๆในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้น การสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำ จึงเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย
               เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเพิ่มความมั่นคงในการเข้าถึงแหล่งน้ำ อีกทั้งเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนยามเกิดสภาวะภัยพิบัติ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน” ขึ้น โดยได้ทำการสำรวจความเหมาะสมทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพน้ำบาดาลเพื่อให้ทราบถึงศักยภาพน้ำบาดาลที่เหมาะสมสำหรับการวางแผนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล โดยมีพื้นที่สำรวจทั่วประเทศ ซึ่งจากการสำรวจ พบว่ามีหลายพื้นที่ที่มีพื้นที่ศักยภาพมีความเหมาะสมในการดำเนินโครงการ

 

2) วัตถุประสงค์
               2.1 เพื่อการพัฒนาบ่อน้ำบาดาล และก่อสร้างระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน ในพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ำบาดาลเหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อรองรับการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคบริโภคเมื่อเกิดสภาวะภัยพิบัติ
               2.2 เพื่อส่งมอบการบริหารจัดการระบบประปาบาดาลและส่งเสริมให้กลุ่มประชาชนที่ใช้น้ำบาดาลในพื้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำบาดาล ให้มีการใช้น้ำบาดาลอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน

 

3) กิจกรรม/วิธีดำเนินการ

        ดำเนินงานโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

        3.1) สำรวจ คัดเลือกพื้นที่ที่มี ศักยภาพเหมาะสม
                (1) กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม
                (2) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดปัจจัยและวางแผนการดำเนินงานสำรวจภาคสนามต่อไป รวมทั้งรวบรวมและทบทวนข้อมูลเบื้องต้นด้านสภาพธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา ศักยภาพน้ำบาดาลทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพน้ำบาดาล เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์พื้นที่น้ำบาดาลที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ
                (3) สำรวจข้อมูลภาคสนามเพิ่มเติม ประกอบด้วย ข้อมูลทางด้านธรณีวิทยา ธรณีวิทยาสัณฐานอุทกธรณีวิทยาและข้อมูลบ่อน้ำบาดาล พร้อมทั้งทำการตรวจวัดระดับและคุณภาพน้ำบาดาล สำรวจธรณีฟิสิกส์บนผิวดิน (Surface Geophysical Investigation) เพื่อหาขอบเขตการแผ่กระจายตัวของหน่วยหินทางอุทกธรณีวิทยา (Boundary of Hydrogeological Units) และลักษณะของชั้นดินชั้นหิน ด้วยวิธีวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะในแนวดิ่ง (Resistivity Survey Method, Vertical Electrical-Resistivity Sounding, VES) ตามรูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้าแบบชลัมเบอร์เจอร์ (Schlumberger Configuration) ที่มีระยะห่างระหว่างขั้วปล่อยกระแสไฟฟ้า (AB/2) ไม่น้อยกว่า 200 เมตร รวมถึงทำการแปลความหมายข้อมูลด้านอุทกธรณีที่ได้จากการสำรวจธรณีฟิสิกส์ เพื่อกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ำบาดาลเบื้องต้น และกำหนดตำแหน่งบ่อเจาะสำรวจ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 1 - 12 ดำเนินการโดยสำนักทรัพยากรน้ำบาดาลเขต จำนวน 85 แห่ง ทั่วประเทศ

        3.2) การเจาะและพัฒนาบ่อ
                (1) ดำเนินการเจาะบ่อสำรวจและพัฒนาบ่อโดยมีรูปแบบการก่อสร้างบ่อตามมาตรฐานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างดิน-หิน ที่ความลึกทุกๆ 1 เมตร โดยต้องติดแผ่นป้ายแสดงหมายเลขบ่อ ความลึกเจาะ และความลึกพัฒนา ตามรูปแบบมาตรฐานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล พื้นที่ละ 2 บ่อ จำนวน 85 แห่ง ทั่วประเทศ
                (2) ดำเนินการหยั่งธรณีฟิสิกส์ในหลุมเจาะ (Geophysical borehole logs or Electric logs) ของหลุมเจาะในข้อ 5.2.1 โดยทำการตรวจวัดค่าต่าง ๆ เช่น SP SPR RSN RLN
                (3) สูบทดสอบปริมาณน้ำด้วยอัตราการสูบคงที่ (Constant-rate Pumping Test) ของบ่อน้ำบาดาลในข้อ 5.2.1 โดยดำเนินการสูบทดสอบปริมาณน้ำ เป็นระยะเวลา 10 ชั่วโมง หรือจนกว่าระดับน้ำจะคงที่ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง และวัดระดับน้ำคืนตัว (Recovery Test) จนกว่าระดับน้ำจะคืนตัวถึงระดับน้ำก่อนสูบ โดยดำเนินการสูบทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติทางชลศาสตร์ของชั้นน้ำบาดาล (Hydraulic Properties of Aquifers) ได้แก่ สัมประสิทธิ์การจ่ายน้ำ (Transmissivity, T) สัมประสิทธิ์การยอมให้น้ำซึมผ่าน (Hydraulic Conductivity, K) และสัมประสิทธิ์การกักเก็บ (Storativity, S) เพื่อนำไปกำหนดขนาดเครื่องสูบน้ำบาดาล พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
                (4) ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทั้งทางกายภาพและทางเคมี (Physical and chemical quality of groundwater) แบบสมบูรณ์ เพื่อนำไปวิเคราะห์ให้ทราบถึงคุณภาพน้ำบาดาลทั้งทางกายภาพและทางเคมีแบบสมบูรณ์ ทั้งนี้ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดังกล่าว อ้างอิงตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ยกเว้นในกรณีที่พบสารปนเปื้อนหรือค่าผิดปกติที่จะมีผลต่อชั้นน้ำบาดาลสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนตัวอย่างและการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลได้ตามความเหมาะสม
                (5) การวิเคราะห์ แปลความหมายและประมวลผลข้อมูลต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะในด้านต่างๆ ของชั้นน้ำบาดาลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพน้ำบาดาล
                (6) ออกแบบอาคารศูนย์การเรียนรู้ด้านน้ำบาดาล และระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลภายใต้มาตรฐานน้ำดื่มด้วยวิธี REVERSE OSMOSIS (RO) เพื่อให้ความรู้ทางวิชาการน้ำบาดาล ประวัติความเป็นมา
ของแหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่ การใช้ประโยชน์จากน้ำบาดาลและการอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาลให้เกิดความยั่งยืน จำนวน 85 แห่ง

        3.3) การก่อสร้างระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน
                ก่อสร้างระบบกระจายน้ำบาดาลให้แก่ชุมชน จำนวน 85 แห่ง ทั่วประเทศ

        3.4) ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการ
                ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการในแต่ละกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด รวมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

 

4) แผนผังงานก่อสร้างของโครงการ

                หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

                        1. พื้นที่มีความเดือดร้อนจริง
                        2. ท้องถิ่นมีความพร้อมในการมอบพื้นที่ก่อสร้าง
                        3. ท้องถิ่นมีความพร้อมในการรับมอบการบริหารจัดการและดูแลระบบให้ยั่งยืน
                        4. จำนวนผู้ได้รับประโยชน์ ไม่น้อยกว่า  200  ครัวเรือน
                        5. ศักยภาพน้ำบาดาลในพื้นที่ ประมาณ  7 - 10  ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง/บ่อ

 

5) สถานที่ดำเนินการ

                โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน จำนวน 85 แห่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีรายละเอียดสถานที่ดังนี้
                (1) บ้านหนองห่าย หมู่ที่ 1 ตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
                (2) บ้านร่องเสี้ยว หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำชำ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
                (3) บ้านเขลางค์ทอง หมู่ที่ 12 ตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
                (4) บ้านทุ่งโป่ง หมู่ที่ 17 ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
                (5) บ้านหนองปรือ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองปรือ อำเภอหนองปรือ จังหวัดกาญจนบุรี
                (6) บ้านแหลมยาง หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท
                (7) บ้านหนองกรวด หมู่ที่ 3 ตำบลหัวหวาย อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
                (8) บ้านโป่งสรรค์ หมู่ที่ 12 ตำบลนิคมเขาบ่อแก้ว อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
                (9) บ้านบึงสัมพันธ์ หมู่ที่ 1 ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี
                (10) บ้านหันสัง หมู่ที่ 6 ตำบลหันสัง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                (11) บ้านดอนแค-ดงตาล หมู่ที่ 6 ตำบลป่าสะแก อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี
                (12) บ้านพุข่อย หมู่ที่ 2 ตำบลหนองมะค่าโมง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
                (13) บ้านหนองแก หมู่ที่ 16 ตำบลด่านช้าง อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี
                (14) บ้านอบทม หมู่ที่ 6 ตำบลยี่ล้น อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
                (15) บ้านหนองผักกระเฉด หมู่ที่ 14 ตำบลวังดาล อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
                (16) บ้านบุ่งคล้าใต้ หมู่ที่ 14 ตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
                (17) บ้านคลองเหมืองไทย หมู่ที่ 12 ตำบลน้ำชุน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
                (18) บ้านบ่อน้ำ หมู่ที่ 5 ตำบลหนองยายโต๊ะ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี
                (19) บ้านเขาช่องลม หมู่ที่ 3 ตำบลลำสมพุง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
                (20) บ้านโนนศรีสวัสดิ์ หมู่ที่ 7 ตำบลนาบอน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์
                (21) บ้านหนองม่วง หมู่ที่ 7 ตำบลโนนหัน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
                (22) บ้านนาโพธิ์ หมู่ที่ 1 ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม
                (23) บ้านแก้วเมธี หมู่ที่ 5 ตำบลนาด้วง อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย
                (24) บ้านบุญทัน หมู่ที่ 9 ตำบลบุญทัน อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู
                (25) บ้านดอนดู่ หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านเต่า อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
                (26) บ้านท่าคร้อ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองข่า อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
                (27) บ้านสระผักโพด หมู่ที่ 2 ตำบลครบุรีใต้ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
                (28) บ้านฉันเพล หมู่ที่ 5 ตำบลโคกม้า อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
                (29) บ้านยาง หมู่ที่ 3 ตำบลตาอ็อง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
                (30) บ้านนา หมู่ที่ 3 ตำบลคลองพน อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
                (31) บ้านคลองชะมวง หมู่ที่ 8 ตำบลพรุดินนา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่
                (32) บ้านคลองหมาก หมู่ที่ 3 ตำบลคลองขนาน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
                (33) บ้านเขาข่า หมู่ที่ 11 ตำบลละแม อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
                (34) บ้านหนองเนียน หมู่ที่ 11 ตำบลบางลึก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร
                (35) บ้านทุ่งหลา หมู่ที่ 4 ตำบลควนธานี อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
                (36) บ้านกะลาเส หมู่ที่ 2 ตำบลกะลาเส อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง
                (37) บ้านต้นขี้ใต้ หมู่ที่ 4 ตำบลทุ่งต่อ อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
                (38) บ้านทุ่งปอนด์ หมู่ที่ 1 ตำบลหลักช้าง อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
                (39) บ้านกรุงหยันใต้ หมู่ที่ 3 ตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
                (40) บ้านบางทองคำ หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเนิน อำเภอเชียรใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
                (41) บ้านพรุเตียว หมู่ที่ 7 ตำบลบางนายสี อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
                (42) บ้านป่าคลอก หมู่ที่ 2 ตำบลป่าคลอก อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
                (43) บ้านบางกล้วยนอก หมู่ที่ 3 ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง
                (44) บ้านนาลึก หมู่ที่ 2 ตำบลท่าชี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                (45) บ้านธารอารี หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนาเดิม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                (46) บ้านสหกรณ์ หมู่ที่ 3 ตำบลทรงธรรม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
                (47) บ้านป่ายางเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลย่านรี อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
                (48) บ้านสระประทุม หมู่ที่ 6 ตำบลไผ่รอบ อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร
                (49) บ้านแม่รากใต้ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
                (50) บ้านหนองแหน หมู่ที่ 1 ตำบลวัดเกาะ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย
                (51) บ้านพระแท่น หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
                (52) บ้านเกาะมะขาม หมู่ที่ 4 ตำบลพะเนียด อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
                (53) บ้านหนองตาเมือง หมู่ที่ 6 ตำบลธงชัย อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
                (54) บ้านแม่เบื้อ หมู่ที่ 7 ตำบลท่าแลง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี
                (55) บ้านรางม่วง หมู่ที่ 8 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
                (56) บ้านลาดใหญ่ หมู่ที่ 5 ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
                (57) บ้านหนองคล้า หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
                (58) บ้านลำชะล่า หมู่ที่ 14 ตำบลดอนฉิมพลี อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
                (59) บ้านโรงสี หมู่ที่ 6 ตำบลนาจอมเทียน อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
                (60) บ้านเนินยาง หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
                (61) บ้านเขาคลอก หมู่ที่ 6 ตำบลสำนักท้อน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง
                (62) บ้านเขาช่องแคบ หมู่ที่ 12 ตำบลคลองหาด อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว
                (63) บ้านทรัพย์นิยม หมู่ที่ 2 ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว
                (64) บ้านหนองสะโน หมู่ที่ 7 ตำบลโพนสวรรค์ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม
                (65) บ้านนาโพธิ์ หมู่ที่ 17 ตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
                (66) บ้านโพธิ์เงิน หมู่ที่ 9 ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
                (67) บ้านดงเหล่า หมู่ที่ 8 ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
                (68) บ้านโนนทอง หมู่ที่ 7 ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
                (69) บ้านคำ หมู่ที่ 2 ตำบลคำเลาะ อำเภอไชยวาน จังหวัดอุดรธานี
                (70) บ้านนาคำแก้ว หมู่ที่ 13 ตำบลนาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี
                (71) บ้านแดง หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านแดง อำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี
                (72) บ้านหนองบั่ว หมู่ที่ 5 ตำบลช้างเผือก อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
                (73) บ้านชำ หมู่ที่ 1 ตำบลชำ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
                (74) บ้านไร่ใต้ หมู่ที่ 4 ตำบลไร่ใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
                (75) บ้านสุไหงบาลา หมู่ที่ 5 ตำบลมะนังตายอ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
                (76) บ้านบาโย หมู่ที่ 8 ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
                (77) บ้านโคกโพธิ์ หมู่ที่ 7 ตำบลโคกโพธิ์ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
                (78) บ้านยางแดง หมู่ที่ 4 ตำบลนาประดู่ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
                (79) บ้านพังกิ่ง หมู่ที่ 2 ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
                (80) บ้านหวังตก หมู่ที่ 3 ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง
                (81) บ้านจำปูน หมู่ที่ 6 ตำบลท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
                (82) บ้านกระอาน หมู่ที่ 4 ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
                (83) บ้านควนหรัน หมู่ที่ 10 ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
                (84) บ้านกาลูบี หมู่ที่ 6 ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
                (85) บ้านผัง 20 หมู่ที่ 8 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอมะนัง จังหวัดสตูล

 

6) ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
        (1)  มีแหล่งน้ำบาดาลเหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพ เพื่อรองรับการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดเพื่ออุปโภคบริโภคและเมื่อเกิดสภาวะภัยพิบัติ และประชาชนได้รับผลประโยชน์ไม่น้อยกว่า 17,000 ครัวเรือน
        (2)  มีระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชนให้แก่ชุมชนที่ขาดแคลนน้ำ จำนวน 85 ระบบ
        (3) กลุ่มประชาชนที่ใช้น้ำบาดาลมีน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคไม่น้อยกว่า 7,446,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งในพื้นที่แ
ต่ละพื้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำบาดาลและส่งเสริมให้มีการใช้น้ำบาดาลอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน