ข่าวสารนํ้าบาดาล

โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 150 แห่ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

  • อัพเดทวันที่ 3 ม.ค. 66
  • อ่าน 551
  • เผยแพร่โดย นรินทร์ภัทร สสิพรรณ์
Email

1) หลักการและเหตุผลความจำเป็น

               ประเทศไทยมีพื้นที่เกษตรกรรม 149.25 ล้านไร่ เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทานประมาณ 116.486 ล้านไร่ ที่ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตทางการเกษตรจะขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนในแต่ละปี อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะภูมิอากาศโลก ทำให้เกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง มีผลกระทบรวมถึงพื้นที่เกษตรกรรมในเขตชลประทานที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและเขื่อน มีปริมาณน้ำน้อยไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพการเกษตร มีผลกระทบต่อผลผลิตการเกษตรทำให้เกษตรกรมีรายได้ไม่แน่นอนเกิดภาวะหนี้สินและความเสี่ยงต่อการลงทุน ไม่มีความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม ในขณะเดียวกันจากสภาวะเศรษฐกิจโลกเกิดความไม่แน่นอนทำให้มีแรงงานจากภาคอุตสาหกรรม หรือภาคการท่องเที่ยว และอื่นๆ ส่วนหนึ่งอพยพคืนถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพการเกษตร ดังนั้น น้ำ คือปัจจัยหลักในการสร้างความมั่นคงของแหล่งน้ำภาคการผลิตด้านการเกษตร เพื่อรองรับสภาวการณ์ดังกล่าว และเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง น้ำบาดาลเป็นแหล่งน้ำที่มีความสำคัญและมีปริมาณกักเก็บจำนวนมาก ที่สามารถพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์และมีคุณภาพน้ำที่ดี สามารถนำมาใช้ได้ทุกฤดูกาลทั้งปี
               กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตภาคเกษตรกรรม และสร้างแนวทางที่จะช่วยให้เกษตรกรไทยแก้ปัญหาความยากจน ลดปัญหาด้านสังคม การย้ายกลับภูมิลำเนา และส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมให้มีความมั่นคงและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งในระดับนานาชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง รวมถึงการแก้ไขปัญหาโดยมุ่งพื้นที่เป้าหมายเกษตรชุมชนนอกเขตชลประทานและพื้นที่หาน้ำยาก เพื่อจะช่วยเหลือประชาชนได้ครอบคลุมมากที่สุด โดยมีพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 150 แห่ง รวม 61 จังหวัด คิดเป็นผู้ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 1,200 ครัวเรือน ปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ 4.8600 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี และพื้นที่ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 9,000 ไร่

 

2) วัตถุประสงค์โครงการ

               (1) เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรในลักษณะของการบูรณาการแหล่งน้ำบาดาลร่วมกับน้ำผิวดิน ในพื้นที่ขาดแคลนน้ำ จำนวน 150 แห่ง
               (2) เพื่อก่อสร้างระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรให้มีการใช้น้ำบาดาลให้เป็นไปอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
               (3) เพื่อส่งมอบการบริหารจัดการบ่อน้ำบาดาล ระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารจัดการน้ำบาดาลร่วมกับกลุ่มเกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพ

 

3) กิจกรรม/วิธีดำเนินการ

               กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจะดำเนินงานสำรวจและพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
               (1) สำรวจคัดเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม
                              (1.1) รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง และทบทวนข้อมูลเบื้องต้นด้านสภาพธรณีวิทยา อุทกธรณีวิทยา ศักยภาพน้ำบาดาลทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพน้ำบาดาล เป็นต้น เพื่อวิเคราะห์พื้นที่น้ำบาดาลที่มีศักยภาพในการพัฒนาโครงการ
                              (1.2) สำรวจข้อมูลภาคสนามเพิ่มเติม ประกอบด้วย ข้อมูลทางด้านธรณีวิทยา ธรณีวิทยาสัณฐาน อุทกธรณีวิทยาและข้อมูลบ่อน้ำบาดาล พร้อมทั้งทำการตรวจวัดระดับและคุณภาพน้ำบาดาล สำรวจธรณีฟิสิกส์บนผิวดิน (Surface Geophysical Investigation) เพื่อหาขอบเขตการแผ่กระจายตัวของหน่วยหินทางอุทกธรณีวิทยา
               (2) การเจาะและพัฒนาบ่อ
                              (2.1) ดำเนินการเจาะและพัฒนาบ่อน้ำบาดาล โดยมีรูปแบบการก่อสร้างบ่อตามมาตรฐานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 นิ้ว พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างดิน-หิน ที่ความลึกทุกๆ 1 เมตร โดยต้องติดแผ่นป้ายแสดงหมายเลขบ่อ ความลึกเจาะ และความลึกพัฒนา ตามรูปแบบมาตรฐานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
                              (2.2) ดำเนินการหยั่งธรณีฟิสิกส์ในหลุมเจาะ (Geophysical borehole logs or Electric logs) ของหลุมเจาะในข้อ (2.1)
                              (2.3) สูบทดสอบปริมาณน้ำด้วยอัตราการสูบคงที่ (Constant-rate Pumping Test) ของบ่อน้ำบาดาลในข้อ (2.1) โดยดำเนินการสูบทดสอบปริมาณน้ำ เป็นระยะเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง หรือจนกว่าระดับน้ำจะคงที่ไม่น้อยกว่า 4 ชั่วโมง และวัดระดับน้ำคืนตัว (Recovery Test) จนกว่าระดับน้ำจะคืนตัวถึงระดับน้ำก่อนสูบโดยดำเนินการสูบทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติทางชลศาสตร์ของชั้นน้ำบาดาล (Hydraulic Properties of Aquifers) ได้แก่ สัมประสิทธิ์การจ่ายน้ำ (Transmissivity, T) สัมประสิทธิ์การยอมให้น้ำซึมผ่าน (Hydraulic Conductivity, K) และสัมประสิทธิ์การกักเก็บ (Storativity, S) เพื่อนำไปกำหนดขนาดเครื่องสูบน้ำบาดาล พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อทำการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
                              (2.4) ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทั้งทางกายภาพและทางเคมี (Physical and chemical quality of groundwater) แบบสมบูรณ์ เพื่อนำไปวิเคราะห์ให้ทราบถึงคุณภาพน้ำบาดาลทั้งทางกายภาพ และทางเคมีแบบสมบูรณ์ ทั้งนี้ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดังกล่าว อ้างอิงตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ยกเว้นในกรณีที่พบสารปนเปื้อนหรือค่าผิดปกติที่จะมีผลต่อชั้นน้ำบาดาลสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนตัวอย่างและการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำบาดาลได้ตามความเหมาะสม
                              (2.5) การวิเคราะห์ แปลความหมายและประมวลผลข้อมูลต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะในด้านต่างๆ ของชั้นน้ำบาดาลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพน้ำบาดาล
               (3) การก่อสร้างระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์
                              ก่อสร้างระบบกระจายน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 150 แห่ง
               (4) ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการ
                              ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการในแต่ละกิจกรรม ให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนด รวมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

 

4) รูปแบบโครงการ 

                              หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ
                              (1) พื้นที่มีความเดือดร้อนจริง
                              (2) ท้องถิ่นมีความพร้อมในการมอบพื้นที่ก่อสร้าง
                              (3) ท้องถิ่นมีความพร้อมในการรับมอบการบริหารจัดการและดูแลระบบให้ยั่งยืน
                              (4) พื้นที่ให้บริการ ขนาดประมาณ  60  ไร่
                              (5) จำนวนเกษตรกร ไม่น้อยกว่า  6  ราย
                              (6) ศักยภาพน้ำบาดาลในพื้นที่ ไม่น้อยกว่า  10  ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง/บ่อ

 

4) สถานที่ดำเนินการ

               โครงการฯ มีพื้นที่เป้าหมายเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพน้ำบาดาล ประมาณ 10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงต่อบ่อ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร ตามพื้นที่เป้าหมายเกษตรชุมชนนอกเขตชลประทาน หรือพื้นที่หาน้ำยาก ภายใต้รูปแบบที่มีความเหมาะสมต่อสภาพปัญหาและพื้นที่ดำเนินโครงการ จำนวน 150 แห่ง (พื้นที่ได้รับประโยชน์ 9,000 ไร่ จำนวนครัวเรือนได้รับประโยชน์ 1,200 ครัวเรือน ปริมาณน้ำต้นทุน 4.8600 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี) ดังนี้

(1) บ้านห้วยฮ้อม หมู่ที่ 10 ตำบลท่าสาย อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

(2) บ้านป่าแหย่ง หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยสัก อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย

(3) บ้านห้วยสัก หมู่ที่ 9 ตำบลยางฮอม อำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย

(4) บ้านห้วยโจ้ หมู่ที่ 5 ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่

(5) บ้านฝายแก หมู่ที่ 7 ตำบลถืมตอง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

(6) บ้านใหม่ หมู่ที่ 10 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา

(7) บ้านห้วยทรายขาว หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา

(8) บ้านท่าขวัญ หมู่ที่ 3 ตำบลท่าข้าม อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่

(9) บ้านเหล่า หมู่ที่ 5 ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

(10) บ้านหนองเชียงราน หมู่ที่ 12 ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง

(11) บ้านห้วยฮี หมู่ที่ 7 ตำบลต้นธงชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

(12) บ้านตีนดอย หมู่ที่ 2 ตำบลมะกอก อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน

(13) บ้านป่าดำ หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านโฮ่ง อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

(14) บ้านสระแก้ว หมู่ที่ 17 ตำบลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์

(15) บ้านทะเลเพลาะ หมู่ที่ 3 ตำบลหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี

(16) บ้านไผ่ขวาง หมู่ที่ 2 ตำบลไผ่ขวาง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี

(17) บ้านดงตาพา หมู่ที่ 9 ตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี

(18) บ้านโรงสีใหม่ หมู่ที่ 15 ตำบลทุ่งโพ อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

(19) บ้านเขาดิน หมู่ที่ 4 ตำบลลานสัก อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี

(20) บ้านหนองโสน หมู่ที่ 6 ตำบลจรเข้เผือก อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี

(21) บ้านทุ่งนาคราช หมู่ที่ 7 ตำบลหนองหญ้า อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

(22) บ้านทุ่ง หมู่ที่ 14 ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท

(23) บ้านหนองระกำ หมู่ที่ 6 ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท

(24) บ้านท่าแรต หมู่ที่ 4 ตำบลอ่างทอง อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์

(25) บ้านหนองยาว กลุ่มที่ 1 หมู่ที่ 4 ตำบลหนองยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

(26) บ้านตาลตาแก้ว หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยชัน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี

(27) บ้านทุ่งตาเงิน หมู่ที่ 11 ตำบลรำมะสัก อำเภอโพธิ์ทอง  จังหวัดอ่างทอง

(28) บ้านเกาะกลาง หมู่ที่ 10 ตำบลตลุกดู่ อำเภอทัพทัน จังหวัดอุทัยธานี

(29) บ้านแก่งโตน หมู่ที่ 2 ตำบลนาซำ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

(30) บ้านกกกะทอน หมู่ที่ 4 ตำบลนาซำ อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

(31) บ้านโปร่งใหญ่ หมู่ที่ 9 ตำบลวังท่าช้าง อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี

(32) บ้านทุ่งแฝก หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

(33) บ้านสามแสน หมู่ที่ 5 ตำบลพัฒนานิคม อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

(34) บ้านกุดตาแร้ว หมู่ที่ 7 ตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

(35) บ้านช้างตะลูด หมู่ที่ 11 ตำบลช้างตะลูด อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

(36) บ้านซับนางเลิ้ง หมู่ที่ 7 ตำบลนายาว อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี

(37) บ้านนางั่ว หมู่ที่ 9 ตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

(38) บ้านสำนักหมัน หมู่ที่ 1 ตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

(39) บ้านนางั่วพัฒนา หมู่ที่ 13 ตำบลนางั่ว อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์

(40) บ้านซับใหญ่ หมู่ที่ 7 ตำบลซับสนุ่น อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

(41) บ้านโป่งสามหัว หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านใหม่สามัคคี อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

(42) บ้านซับหินขวาง หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านใหม่สามัคคี อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

(43) บ้านซับม่วง หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านใหม่สามัคคี อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

(44) บ้านถ้ำเต่า หมู่ที่ 7 ตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

(45) บ้านโนนสูง หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านพร้าว อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

(46) บ้านบวมหก หมู่ที่ 5 ตำบลหนองบัว อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

(47) บ้านโคกสูง หมู่ที่ 3 ตำบลกระนวน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

(48) บ้านวังทอง หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม

(49) บ้านเอราวัณ หมู่ที่ 13 ตำบลผาอินทร์แปลง อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

(50) บ้านใหม่ชัยเจริญ หมู่ที่ 7 ตำบลทรัพย์ไพรวัลย์ อำเภอเอราวัณ จังหวัดเลย

(51) บ้านสว่าง หมู่ที่ 4 ตำบลห้วยเตบ อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

(52) บ้านหนองบัวโซม หมู่ที่ 3 ตำบลหนองสวรรค์ อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

(53) บ้านขามป้อม หมู่ที่ 12 ตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น

(54) บ้านโคกน้ำเกลี้ยง หมู่ที่ 3 ตำบลป่าไม้งาม อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู

(55) บ้านโนนศรีสวัสดิ์ หมู่ที่ 8 ตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์

(56) บ้านโคกสำราญ หมู่ที่ 2 ตำบลสามัคคี อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์

(57) บ้านพุทธรักษา หมู่ที่ 4 ตำบลเขาพระนอน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์

(58) บ้านหินดาด หมู่ที่ 5 ตำบลวังไทร อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

(59) บ้านหนองบัวคำ หมู่ที่ 8 ตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

(60) บ้านคูเมือง หมู่ที่ 14 ตำบลคูเมือง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

(61) บ้านวังม่วง หมู่ที่ 5 ตำบลหนองโพนงาม อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ

(62) บ้านโคกสว่าง หมู่ที่ 6 ตำบลผไทรินทร์ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

(63) บ้านโคกใหญ่ หมู่ที่ 4 ตำบลบางตะพง อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

(64) บ้านโคกทราง หมู่ที่ 7 ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

(65) บ้านบางลึก หมู่ที่ 2 ตำบลปากพนังฝั่งตะวันตก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

(66) บ้านไสน้ำจม หมู่ที่ 5 ตำบลโคกหาร อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

(67) บ้านควนยูง หมู่ที่ 4 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

(68) บ้านคลองหินแท่น หมู่ที่ 4 ตำบลพรุพี อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

(69) บ้านหนองฉ้ง หมู่ที่ 8 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

(70) บ้านในดวด หมู่ที่ 3 ตำบลสวนแตง อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

(71) บ้านบางมัน หมู่ที่ 1 ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ จังหวัดระนอง

(72) บ้านบางใหญ่ หมู่ที่ 4 ตำบลบางพระเหนือ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

(73) บ้านทะเลหอย หมู่ที่ 10 ตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยา จังหวัดกระบี่

(74) บ้านทุ่งเชิงดี หมู่ที่ 2 ตำบลทุ่งคาวัด อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

(75) บ้านหนองหัด หมู่ที่ 4 ตำบลคลองปาง อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง

(76) บ้านคลองคราม หมู่ที่ 8 ตำบลปากแพรก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี

(77) บ้านวังปลาอ้าว หมู่ที่ 7 ตำบลปางมะค่า อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร

(78) บ้านหนองโบสถ์ หมู่ที่ 10 ตำบลแม่ระกา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

(79) บ้านสองชั้น หมู่ที่ 3 ตำบลวังลึก อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย

(80) บ้านคลองเขนง หมู่ที่ 7 ตำบลเกาะตาเลี้ยง อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

(81) บ้านขอม หมู่ที่ 5 ตำบลพญาแมน อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

(82) บ้านท่าเยี่ยม หมู่ที่ 2 ตำบลท่าเยี่ยม อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร

(83) บ้านคลองกระจง หมู่ที่ 1 ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

(84) บ้านโคกสนั่น หมู่ที่ 8 ตำบลวัดตายม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

(85) บ้านไร่ หมู่ที่ 10 ตำบลทะนง อำเภอโพทะเล จังหวัดพิจิตร

(86) บ้านไร่ใหม่พัฒนา หมู่ที่ 2 ตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

(87) บ้านโป่งเก้งพัฒนา หมู่ที่ 8 ตำบลไร่ใหม่พัฒนา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

(88) บ้านแสนกะบะ หมู่ที่ 10 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

(89) บ้านเนินม่วง หมู่ที่ 7 ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

(90) บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

(91) บ้านทุ่งจับญวณ หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

(92) บ้านไร่ใน หมู่ที่ 1 ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

(93) บ้านหนองไผ่ หมู่ที่ 5 ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

(94) บ้านหนองนกน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

(95) บ้านหนองตาหงุ่น หมู่ที่ 6 ตำบลนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี

(96) บ้านท่าม่วง หมู่ที่ 9 ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

(97) บ้านหนองเม็ก หมู่ที่ 15 ตำบลหนองเหียง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

(98) บ้านฝาเรือง หมู่ที่ 3 ตำบลเทพนิมิต อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด

(99) บ้านไร่เหนือพัฒนา หมู่ที่ 20 ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

(100) บ้านแสนสุข หมู่ที่ 18 ตำบลทุ่งมหาเจริญ อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

(101) บ้านค่ายเจริญ กลุ่มที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหินปูน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

(102) บ้านหนองหมู หมู่ที่ 6 ตำบลหนองแวง อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

(103) บ้านหนองผักหนาม หมู่ที่ 4 ตำบลตาหลังใน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

(104) บ้านวังเสียว หมู่ที่ 14 ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว

(105) บ้านหนองปักหลัก หมู่ที่ 11 ตำบลพระเพลิง อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว

(106) บ้านสวนป่า หมู่ที่ 3 ตำบลวังน้ำเย็น อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว

(107) บ้านขว้างคลี กลุ่มที่ 1 หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

(108) บ้านสมบูรณ์ หมู่ที่ 14 ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

(109) บ้านสร้างแก้ว หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

(110) บ้านโคกตะแบง กลุ่มที่ 1 หมู่ที่ 5 ตำบลดงเย็น อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

(111) บ้านทุ่งมน หมู่ที่ 8 ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

(112) บ้านเชิงชุม หมู่ที่ 1 ตำบลเชิงชุม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

(113) บ้านนาตงใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลนาตงวัฒนา อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร

(114) บ้านภูพานทอง หมู่ที่ 9 ตำบลสร้างค้อ อำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร

(115) บ้านสระใคร หมู่ที่ 3 ตำบลสระใคร อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย

(116) บ้านหินโงม กลุ่มที่ 1 หมู่ที่ 9 ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

(117) บ้านเชียงเพ็ง หมู่ที่ 3 ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

(118) บ้านจุ้ม กลุ่มที่ 1 หมู่ที่ 6 ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

(119) บ้านโนนทอง กลุ่มที่ 1 หมู่ที่ 7 ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

(120) บ้านนารายณ์ หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

(121) บ้านเหล่าถาวร หมู่ที่ 6 ตำบลวิศิษฐ์ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

(122) บ้านโนนสมบูรณ์ หมู่ที่ 7 ตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ

(123) บ้านหนองบัว หมู่ที่ 2 ตำบลนากั้ง อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ

(124) บ้านดงแคนใหญ่ หมู่ที่ 4 ตำบลดงแคนใหญ่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร

(125) บ้านตากแดด หมู่ที่ 2 ตำบลหัวโทน อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

(126) บ้านจานใต้ หมู่ที่ 9 ตำบลโพนสูง อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด

(127) บ้านนิคมเกษตรกรรมทหารผ่านศึกแปลงที่ 2 หมู่ที่ 9 ตำบลชานุมาน อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ

(128) บ้านหนองลุมพุก หมู่ที่ 1 ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

(129) บ้านลือ หมู่ที่ 8 ตำบลลือ อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

(130) บ้านบูรพา หมู่ที่ 3 ตำบลดอนใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

(131) บ้านหนองห้าง หมู่ที่ 10 ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

(132) บ้านหนองศาลา หมู่ที่ 8 ตำบลนาสะไมย์ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

(133) บ้านโนนกุง หมู่ที่ 3 ตำบลโนนกุง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

(134) บ้านทุ่ง หมู่ที่ 11 ตำบลวังหิน อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

(135) บ้านฟ้าห่วน หมู่ที่ 11 ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี

(136) บ้านสะแนน หมู่ที่ 2 ตำบลขุมเงิน อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร

(137) บ้านหนองขี้เห็นใหญ่ หมู่ที่ 11 ตำบลทุ่งเทิง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

(138) บ้านสามแยก หมู่ที่ 11 ตำบลกุดเสลา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

(139) บ้านหมากแหน่งใต้ หมู่ที่ 10 ตำบลตาเกา อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี

(140) บ้านโนนไร่ หมู่ที่ 16 ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด

(141) บ้านบาลอ หมู่ที่ 1 ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

(142) บ้านละหาร หมู่ที่ 8 ตำบลแป้น อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

(143) บ้านควนเพ็ง หมู่ที่ 6 ตำบลโคกทราย อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

(144) บ้านกันแร่ หมู่ที่ 2 ตำบลโคกทราย อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

(145) บ้านควนปอม หมู่ที่ 8 ตำบลโคกทราย อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง

(146) บ้านตุหรง หมู่ที่ 2 ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

(147) บ้านตรับ หมู่ที่ 9 ตำบลจะโหนง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

(148) บ้านนาใน หมู่ที่ 7 ตำบลนาหว้า อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

(149) บ้านจำปาดะ หมู่ที่ 12 ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

(150) บ้านห้วยน้ำดำ หมู่ที่ 1 ตำบลควนกาหลง อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

 

5) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

               (1) พื้นที่ทำการเกษตรกรรมได้รับการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร จำนวน 150 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ 9,000 ไร่ มีแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการเกษตรไม่น้อยกว่า 4.8600 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี
               (2) เกษตรกรไม่น้อยกว่า 1,200 ครัวเรือน มีน้ำต้นทุนเพียงพอต่อการเกษตร
               (3) เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์จากน้ำบาดาล ทำให้เกิดการตระหนักในคุณค่าของทรัพยากรน้ำบาดาล มีปริมาณน้ำใช้งานเพิ่มขึ้น