ข่าวสารนํ้าบาดาล

น้ำบาดาลเพื่อการเกษตร

  • อัพเดทวันที่ 3 ม.ค. 66
  • อ่าน 380
  • เผยแพร่โดย นรินทร์ภัทร สสิพรรณ์
Email
ชื่อหนังสือ น้ำบาดาลเพื่อการเกษตร
พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2565
จำนวนหน้า 205 หน้า
จำนวนเล่ม 50 เล่ม

จัดทำโดย

 

 

 

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เลขที่ 26/83 ซอยงามวงศ์วาน 54 ถนน งามวงศ์วาน
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ 02 666 7374 โทรสาร 02 666 7380
Email : webmaster@dgr.mail.go.th

ISBN (e-book) 978-616-316-721-7

 

               กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการบริหารจัดการน้ำบาดาลให้เกิดเอกภาพ และประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลให้เกิดประโยชน์สูงสุดอย่างยั่งยืน โดยสำนักพัฒนาน้ำบาดาล เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรและรูปแบบอื่น มีเป้าหมายเปลี่ยน น้ำบาดาลจากน้ำบาดาลทางเลือก สู่น้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงและผลักดันความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน จากการรวมกลุ่มผู้ใช้น้ำ สู่ การเป็นกลุ่มผู้ผลิต ซึ่งมุ่งหวังการใช้น้ำบาดาลให้เกิดประสิทธิภาพ มั่นคง คุ้มค่าและยั่นยืน ผ่านการเข้าร่วมโครงการที่ตรงตามความเหมาะสมและตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเกษตรกร อีกทั้งมุ่งหวังให้ทุกคนมีการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างเป็นระบบอันเป็นสิ่งสำคัญของการดำเนินงานเพื่อสร้างรายได้คืนสู่สมาชิกกลุ่มเกษตรกร ตามวิสัยทัศน์ (Vision) ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล คือ "มุ่งสู่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล เชิงพื้นที่เพื่อเสริมความมั่นคงด้านน้ำและการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน ภายในปี 2580"

               โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เพื่อร่วมกันจัดหาน้ำต้นทุน และยกระดับกลุ่มเกษตรกรจากผู้ใช้น้ำเป็นกลุ่มผู้ผลิตและสามารถพัฒนาภาคการเกษตรเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน สนับสนุนกิจกรรมการพัฒนาอาชีพของคนในชุมชน ค้นหาชุมชนที่มีศักยภาพ และมีโอกาสในการพัฒนาด้วยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนมีการบูรณาการความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนมีการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นอย่างเกื้อกูล และเป็นธรรมจากการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน นอกจากนี้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลร่วมกันคิดและวิเคราะห์ หาความชัดเจนและอัตลักษณ์ของการใช้น้ำเพื่อการเกษตร นำมาผสมผสานบูรณาการข้อมูลในแต่ละพื้นที่ โดยสำนัก
ทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 1 - 12 และส่วนกลางของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ร่วมกันสังเคราะห์ วิเคราะห์การใช้น้ำบาดาลเพื่อภาคการเกษตรให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน พร้อมกับการรวบรวม จัดเก็บข้อมูลเพื่อสร้างคลังข้อมูล (Big Data) ทางด้านการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน มาจัดทำ "หนังสือน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร" เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้นำหนังสือ ฉบับนี้ มาเป็นแนวทางในการสร้างกระบวนการจัดการโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรให้มีความยั่งยืน