ข้อมูลองค์กร

นวัตกรรมน้ำบาดาล

                      ประเทศไทยมีปริมาณน้ำต้นทุนของน้ำบาดาลอย่างมหาศาลกว่า 1.13 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร และแต่ละปีจะมีปริมาณน้ำฝนที่ไหลลงไปเพิ่มเติมในชั้นน้ำบาดาลอีกกว่า 72,000 ล้านลูกบาศก์เมตร กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงมีแนวคิดที่จะต่อยอดการนำน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยจัดทำ 5 โครงการใหญ่ ซึ่งเป็นนวัตกรรมด้านการพัฒนาน้ำบาดาลที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ง และเป็นการเพิ่มความมั่นคงด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลของประเทศ

 

1. น้ำบาดาลขนาดใหญ่ริมแม่น้ำ

     

                      กรมทรัพยากรน้ำบาดาลศึกษาการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ริมแม่น้ำ Riverbank Filtration - RBF นำน้ำบาดาลบริเวณใกล้แม่น้ำซึ่งมีปริมาณมากมาใช้ในการพัฒนาเป็นแหล่งน้ำต้นทุน เนื่องจากมีปริมาณน้ำมากกว่าบ่อน้ำบาดาลปกติประมาณ 20 เท่า และน้ำมีคุณภาพดีเนื่องจากผ่านการกรองโดยธรรมชาติ สามารถนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้และไม่ส่งผลกระทบต่อน้ำผิวดิน ดำเนินการในพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัด คือ ชัยนาท ราชบุรี และสุพรรณบุรี มีประชาชนได้รับประโยชน์กว่า 7,600 ครัวเรือน พื้นที่เกษตรได้รับประโยชน์กว่า 2,400 ไร่ และมีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 4.52 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

 

2. การส่งน้ำบาดาลระยะไกล

     

                      กรมทรัพยากรน้ำบาดาลพิจารณาโครงการเพื่อการพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ประโยชน์ด้านอุปโภค บริโภคในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและมีปัญหาคุณภาพน้ำเค็ม และพื้นที่ที่มีระบบประปาบาดาล แต่ยังไม่สามารถจ่ายน้ำให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากการขยายตัวของหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และการปนเปื้อนของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาลที่เป็นชั้นน้ำจืด โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการที่มีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้รับข้อมูลแหล่งน้ำบาดาลที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ มีรายละเอียดมากขึ้นและเป็นปัจจุบัน อันจะส่งผลให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุดในเชิงปฏิบัติในระดับพื้นที่ ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้รับการร้องขอข้อมูลด้านนี้มาตลอด กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ สำหรับดำเนินงานจัดหาแหล่งน้ำบาดาลที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณเพียงพอ ทั้งในพื้นที่เป้าหมาย และพื้นที่โดยรอบ เพื่อใช้ในการบรรเทาและแก้ไขปัญหาความขาดแคลนน้ำของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและมีปัญหาด้านคุณภาพน้ำบาดาล รวมไปถึงประชาชนในหมู่บ้านที่มีระบบประปาแล้วแต่ยังไม่ทั่วถึงเนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างระบบประปาเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมและเพียงพอต่อความต้องการการใช้น้ำ

 

3. จุดจ่ายน้ำริมทาง

     

                      กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการสำรวจแหล่งน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ทดแทนในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำผิวดิน หรือมีแหล่งน้ำผิวดินมีปริมาณไม่เพียงพอ  ซึ่งในหลายพื้นที่ยังมีประชาชนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ทั้งจากระบบประปาเดิมไม่สามารถจ่ายน้ำได้ครอบคลุม และบางพื้นที่คุณภาพน้ำในบ่อน้ำบาดาลเดิมเปลี่ยนสภาพเป็นน้ำ กร่อย-เค็ม เนื่องจากการขยายตัวของหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และการปนเปื้อนของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาลที่เป็นชั้นน้ำจืด จึงได้พิจารณาโครงการเพื่อการพัฒนาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ประโยชน์ด้านอุปโภค บริโภคในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและมีปัญหาคุณภาพน้ำเค็ม และพื้นที่ที่มีระบบประปาบาดาล แต่ยังไม่สามารถจ่ายน้ำให้กับประชาชนได้อย่างทั่วถึง โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการที่มีเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ได้รับข้อมูลแหล่งน้ำบาดาลที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ มีรายละเอียดมากขึ้นและเป็นปัจจุบัน อันจะส่งผลให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนทั่วไปสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุดในเชิงปฏิบัติในระดับพื้นที่ ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้รับการร้องขอข้อมูลด้านนี้มาตลอด กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จึงได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ สำหรับดำเนินงานจัดหาแหล่งน้ำบาดาลที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณเพียงพอ ทั้งในพื้นที่เป้าหมาย และพื้นที่โดยรอบ เพื่อใช้ในการบรรเทาและแก้ไขปัญหาความขาดแคลนน้ำของประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งและมีปัญหาด้านคุณภาพน้ำบาดาล รวมไปถึงประชาชนในหมู่บ้านที่มีระบบประปาแล้วแต่ยังไม่ทั่วถึงเนื่องจากเป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างระบบประปาเพิ่มเติม เพื่อให้ครอบคลุมและเพียงพอต่อความต้องการการใช้น้ำ

 

4. เกษตรแปลงใหญ่

     

                      กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการ “โครงการศึกษาการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร” ในปี พ.ศ. 2553 โดยรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล เพื่อศึกษารูปแบบการใช้น้ำบาดาลเพื่อการเกษตรให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และเพื่อให้เกิดต้นแบบของการมีส่วนร่วมจากเกษตรกร ชุมชนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างมีคุณค่า ยั่งยืน ซึ่งจากความสำเร็จดังกล่าว กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้นำมาพัฒนาต่อยอด “โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มเกษตรกรอีกจำนวนมากที่ต้องการรับการสนับสนุนโครงการดังกล่าว ดังนั้น การบริหารจัดการและการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร จึงมีการพัฒนารูปแบบของโครงการเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความต้องการของกลุ่มเกษตรกรที่มีความหลากหลายในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ ที่เกิดจากการร่วมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบขนาดใหญ่เพื่อใช้น้ำบาดาลประกอบอาชีพการเกษตรกรรม และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์หลักที่สร้างความมั่นคงด้านแหล่งน้ำเพื่อการผลิตภาคการเกษตรให้มีน้ำใช้เพื่อประกอบอาชีพตลอดฤดูกาลทั้งปีแก้ปัญหาความยากจน ลดปัญหาด้านสังคม เพิ่มขีดความสามารถในการผลิต สร้างรายได้ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกรที่ยั่งยืนสืบไป