ข่าวสารนํ้าบาดาล

สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาลจัดอบรม “Workshop on Groundwater Modeling - Part 2 : Application of Flow and Subsidence Simulations”

  • อัพเดทวันที่ 30 ม.ค. 60
  • อ่าน 1,020
  • เผยแพร่โดย DGR Admin กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
Email
อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

วันที่ 30 มกราคม 2560 เวลา 9.00น นายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล มอบหมายให้ ดร. อรัญญา เฟื่องสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นประธานเปิดการอบรม “Workshop on Groundwater Modeling - Part 2: Application of Flow and Subsidence Simulations” ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมครั้งนี้จากสถาบันการศึกษา หน่วยงานเอกชน และเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวนกว่า 50 ท่าน ณ โรงแรมเทวมันตร์ทรา รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล มีภารกิจในการศึกษาวิจัยเรื่อง การศึกษาผลกระทบต่อแหล่งน้ำบาดาลในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาลและแอ่งเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งจะดำเนินการศึกษาวิจัยโดยการจัดทำแบบจำลองการไหลของน้ำ การประเมินอัตราการรุกล้ำของน้ำเค็ม ประเมินปริมาณการสูบที่เหมาะสม ประเมินผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้น้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น ภาวะโลกร้อน ภาวะฝนทิ้งช่วง การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การทรุดตัวของแผ่นดินตามธรรมชาติ ผลที่ได้จากการศึกษานี้จะสามารถนำมาใช้ในการวางแผนการควบคุม ป้องกันและลดผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ ทำให้มีระบบข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในการตัดสินใจ (Decision support system) เพื่อใช้เป็นนโยบายและมาตรการในการบริหารจัดการน้ำบาดาลในพื้นที่วิกฤตการณ์อย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

1. พัฒนาศักยภาพบุคลากรของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับองค์ความรู้ เทคนิค วิธีการ การจัดทำแบบจำลองน้ำบาดาลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำแบบจำลองทางคณิตศาสตร์น้ำบาดาลเพื่อศึกษาผลกระทบต่อแหล่งน้ำบาดาลในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาลต่อไป
3. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างหน่วยงานทั้งภายในและต่างประเทศ
 
ที่มาและภาพข่าวโดย : กองสื่อสารและการมีส่วนร่วม
 ***หากต้องการภาพถ่ายหรือเนื้อหาข่าวต้นฉบับเพื่อใช้ประกอบกิจกรรมอื่นๆ กรุณาติดต่อ กองสื่อสารและการมีส่วนร่วม โทรศัพท์ : 0 2666 7008