ข้อมูลองค์กร

วิสัยทัศน์/พันธกิจ


วิสัยทัศน์ (Vision)
"เป็นองค์กรสมรรถนะสูงในการสร้างความมั่นคงด้านน้ำบาดาลในทุกสถานการณ์ให้ใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายในปี 2570"

พันธกิจ (Mission)
  1.  พัฒนาองค์ความรู้ด้านอุทกธรณีวิทยา นวัตกรรม เทคโนโลยี การเจาะและบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน ตามมาตรฐานสากล เป็นศูนย์กลางข้อมูลแบบรวมศูนย์ด้านทรัพยากรน้ำบาดาลเพิ่มประสิทธิภาพโดยการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศ ฐานข้อมูลวิชาการด้านน้ำบาดาลมาใช้ในการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล
  2.  เจาะพัฒนาน้ำบาดาลด้วยเทคโนโลยีสร้างนวัตกรรม พัฒนาเครื่องมือ เครื่องจักรตามมาตรฐานสากล เพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และกาคการผลิตรวมถึงระบบนิเวศ
  3.  สนับสนุน กำกับ และติดตามประเมินผลการดูแลเพื่อการใช้ทรัพยากรน้ำบาดาลอย่างสมดุลและยั่งยืน
  4.  กำหนดมาตรการ และแนวทางการอนุรักษ์ เฝ้าระวังและฟื้นฟูชั้นน้ำบาดาล เพื่อความมั่นคงในภาวะวิกฤติ ภัยธรรมชาติ สงคราม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต
  5.  เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรและบุคลากรมีสมรรถนะสูง ทันสมัยด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และสร้างการรับรู้ เพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนองค์กร
  6.  บูรณาการและสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน เพื่อสร้างหุ้นส่วน (Partnership) ในการบริหารจัดการน้ำบาดาล ทั้งในและต่างประเทศ
 
ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)
ยุทธศาสตร์ที่ 1

สำรวจและผลิตน้ำต้นทุนเพื่อตอบสนองความต้องการน้ำด้านอุปโภคบริโภค เกษตร อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ

เป้าประสงค์

มีน้ำบาดาลที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอ เพื่อการอุปโภคบริโภค ตลอดจนเพื่อสนับสนุน ภาคการผลิต ทั้งอุตสาหกรรม เกษตร ท่องเที่ยวและบริการ

กลยุทธ์/มาตรการรองรับ

พัฒนาน้ำบาดาล ทำแผนความต้องการใช้น้ำบาดาล เพื่อการอุปโภคบริโภค การผลิต ทั้งด้านเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวและบริการ ที่พร้อมเผยแพร่ต่อสาธารณะชน โดยดำเนินการ ดังนี้

  1. เร่งจัดทำแผนพัฒนาการใช้ประโยชน์ของน้ำบาดาลเชิงรุกแบบองค์รวม เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ภาคการผลิต ทั้งด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ
  2. เร่งรัดพัฒนาน้ำบาดาลและระบบประปาบาดาลในพื้นที่เป้าหมายให้ครบถ้วน
 
ยุทธศาสตร์ที่ 2

เสริมสร้างศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล

เป้าประสงค์
  1. เสริมสร้างองค์ความรู้และพัฒนาบุคลากร
  2. บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศและโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. บังคับใช้กฎหมายตามหลักธรรมาภิบาล
  4. เสริมสร้างขวัญและกำลังใจ ภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร พร้อมทั้งเผยแพร่ข้อมูล อันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน
  5. มีบทลงโทษต่อผู้กระทำความผิดและขัดขวางการดำเนินนโยบายของรัฐบาล
กลยุทธ์/มาตรการรองรับ

คุ้มครองพื้นที่น้ำบาดาล และมาตรการเชิงรับ เน้นการพัฒนาบุคลากร และ การจัดการความรู้ พัฒนาระบบฐานข้อมูล การมีส่วนร่วม สร้างแรงจูงใจ เพิ่มแนวทาง ใช้งบกองทุนฯ เผยแพร่ข้อมูล สถานการณ์น้ำบาดาล พัฒนากฎหมาย และเพิ่มการประชาสัมพันธ์

 
ยุทธศาสตร์ที่ 3

เสริมสร้างขบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับน้ำบาดาล ทั้งระดับนโยบายระดับปฏิบัติ กลุ่มผู้ใช้น้ำบาดาล ภาคเอกชน ภาคประชาชน NGO และระดับลุ่มน้ำ

เป้าประสงค์
  1. บริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลในระดับลุ่มน้ำและจังหวัดมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อเป็นกลไกเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลให้เกิดประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
  3. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้เครือข่ายน้ำบาดาลทั้งภายในประเทศ และนานาประเทศ ทั้งในและนอกภูมิภาค ระดับปฏิบัติ (หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในระดับพื้นที่ลุ่มน้ำ
  4. สร้างความเป็นผู้นำในประชาคมอาเซียนด้านน้ำบาดาล
กลยุทธ์/มาตรการรองรับ

สร้างความเข้มแข็ง ทั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ และเครือข่ายระดับลุ่มน้ำ

 
ยุทธศาสตร์ที่ 4

ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการวิจัย และพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรน้ำบาดาล

เป้าประสงค์
  1. ประชาชนได้รับการบริการ และใช้ประโยชน์จากการบริหารจัดการทรัพยากร น้ำบาดาลได้อย่างเหมาะสม และทันต่อสถานการณ์
  2. ประชาชนมีแหล่งน้ำสำรองเพิ่มขึ้นในภาวะวิกฤต
  3. เพื่อให้มีระบบสารสนเทศที่ทันสมัย และเหมาะสมกับการใช้งานในทุกระดับ
  4. เพื่อให้มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อันทันสมัยและจำเป็นต่อการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำบาดาล และให้บริการน้ำบาดาล อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์/มาตรการรองรับ

ศึกษา สำรวจ ประเมินศักยภาพ พัฒนา อนุรักษ์ฟื้นฟู กำกับดูแล ควบคุมและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาล