ข่าวสารนํ้าบาดาล

กรมน้ำบาดาล ร่วมงานประชุม CCOP-GSJ Groundwater Project Phase IV สนับสนุนการบริหารจัดการน้ำบาดาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้

  • อัพเดทวันที่ 21 มี.ค. 66
  • อ่าน 291
  • เผยแพร่โดย T ADMIN
Email
อัลบั้มภาพ 17 ภาพ

     วันที่ 21 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลร่วมพิธีและกล่าวเปิดการประชุม CCOP-GSJ Groundwater Project Phase IV จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ“ระบบเฝ้าระวังน้ำบาดาลและน้ำผิวดินในปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคที่มีอยู่” โดยมี Dr. Young Joo Lee ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการ CCOP, Dr. Gaurav Shrestha หัวหน้าโครงการน้ำบาดาล CCOP-GSJ พร้อมด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก และเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เข้าร่วมงานฯ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีด้านธรณีวิทยา การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลและสิ่งแวดล้อมระหว่างนักธรณีวิทยาและนักอุทกธรณีวิทยาในระดับนานาชาติ รวมทั้งได้เผยแพร่ผลงาน/โครงการของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และโครงการสำคัญที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล สู่การนำความรู้ดังกล่าวมาปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพและต่อยอดการศึกษาวิจัยด้านการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างยั่งยืน ณ ห้องการะเกด โรงแรมแมนดาริน สามย่าน กรุงเทพฯ

 

     นอกจากนี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ยังได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานด้านอุทกธรณีวิทยา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการบริหารจัดการและอนุรักษ์น้ำบาดาลของประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานด้านน้ำบาดาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพและพัฒนาด้านการบริหารจัดการและอนุรักษ์น้ำบาดาลอย่างยั่งยืน ของการประชุม CCOP-GSJ Groundwater Project Phase IV ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล ณ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดราชบุรี

 

     อนึ่ง คณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับการสำรวจทรัพยากรธรณีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ (Coordination Committee for Geoscience Programmes in East and Southeast Asia: CCOP) ร่วมกับสำนักสำรวจธรณีวิทยาของประเทศญี่ปุ่น (Geological Survey of Japan, GSJ) กำหนดจัดการประชุม CCOP-GSJ Groundwater Project Phase IV ระหว่างวันที่ 21 - 23 มีนาคม 2566 ณ ราชอาณาจักรไทย เพื่อรวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลน้ำบาดาลของประเทศสมาชิก CCOP และสนับสนุนการบริหารจัดการน้ำบาดาลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยระบบ Geoinformation Sharing Infrastructure (GSI) รวมทั้งเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนสถานการณ์และปัญหาของน้ำผิวดิน และน้ำบาดาลของแต่ละประเทศสมาชิก CCOP ในปัจจุบัน รวมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ตลอดจนนำเสนอความคืบหน้าการดำเนินโครงการอีกด้วย



































แท็กที่เกี่ยวข้อง