ข่าวสารนํ้าบาดาล

“น้ำบาดาล” มีทั้งจืด มีทั้งเค็ม แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรหนอ........

  • อัพเดทวันที่ 11 มี.ค. 67
  • อ่าน 267
  • เผยแพร่โดย T ADMIN
Email

     สภาพอุทกธรณีวิทยาในประเทศไทยมีพื้นที่ที่พบชั้นน้ำเค็มสองพื้นที่หลัก ได้แก่ พื้นที่ภาคกลางตอนล่าง และพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพื้นที่ภาคกลางตอนล่างจากการสำรวจพบว่าชั้นตะกอนมาจากการรุกของน้ำทะเลโบราณ ทำให้มีน้ำเค็มแทรกอยู่ในชั้นน้ำบาดาลซึ่งอยู่ในช่วงความลึก 30 – 170 เมตร และในบางพื้นที่ชายฝั่งอาจพบที่ความลึก 300 เมตร สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีลักษณะทางธรณีวิทยาที่มีชั้นเกลือหินวางตัวอยู่ใต้ชั้นดินและชั้นหิน และในบางพื้นที่ก็มักพบเกลือหินอยู่ใกล้กับผิวดิน เมื่อน้ำบาดาลไหลเข้ามาก็จะละลายเกลือ และแทรกอยู่ในชั้นหินให้น้ำบริเวณใกล้เคียง จึงทำให้พื้นที่ภาคกลางตอนล่าง และพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบน้ำเค็มเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในการสำรวจหาแหล่งน้ำบาดาลที่มีศักยภาพสูงจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการ “หยั่งธรณีหลุมเจาะ” ซึ่งเป็นการจำแนกชั้นน้ำจืดและน้ำเค็ม ด้วยการวัดค่าความต้านทานไฟฟ้า (Resistivity) โดยชั้นดินชั้นหินที่พบน้ำเค็มจะมีค่าความต้านทานไฟฟ้าที่ต่ำกว่าชั้นหินให้น้ำจืด (Aquifer) และค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าก็จะมีค่าต่ำกว่าชั้นหินให้น้ำจืด (Aquifer) เช่นเดียวกัน  ทั้งนี้ เพื่อความถูกต้องของข้อมูลควรมีหลายองค์ประกอบนำมาประมวลผลร่วมกันเพื่อให้ได้ความแม่นยำของข้อมูลมากที่สุด.....