วีดิทัศน์

น้ำบาดาลเก็บมาเล่า !

โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกล เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม รูปแบบที่ 1

น้ำบาดาลเก็บมาเล่า....... วันนี้ขอนำเสนอ “โครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกล เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม รูปแบบที่ 1” ซึ่งเป็นการจัดหาน้ำบาดาลในพื้นที่ที่มีปัญหาคุณภาพน้ำกร่อยเค็ม และเป็นพื้นที่ที่ต้องให้ความช่วยเหลือยามเกิดวิกฤตภัยแล้งอย่างเร่งด่วน

โครงการดังกล่าวจะช่วยให้ประชาชนมีแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอครอบคลุมทุกพื้นที่ และยังมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ บ่อน้ำบาดาล ระบบกระจายน้ำบาดาล พร้อมอุปกรณ์ ร่วมกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอีกด้วย

สำหรับประชาชนที่สนใจโครงการสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2666 7366 สำนักพัฒนาน้ำบาดาล

9 เม.ย. 67

“โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์”

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักพัฒนาน้ำบาดาล ดำเนิน “โครงการพัฒนาน้ำบาดาล
เพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์” เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีแหล่งน้ำสำรองสำหรับ
ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ลดการย้ายถิ่นฐาน ทำให้ทุกคนในครอบครัวอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข และยังเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำอีกด้วย

สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถกรอกแบบฟอร์มคำขอตามลิงก์ด้านล่างนี้ พร้อมผ่านการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ของท่าน มายังสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 1 – 12 สอบถามเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 2666 7372

5 เม.ย. 67

โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน

โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน เป็นการนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ประโยชน์เพื่อการอุปโภคและบริโภค โดยดำเนินการในพื้นที่ที่มีศักยภาพน้ำบาดาลเหมาะสมทั้งปริมาณและคุณภาพเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำช่วยให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคบริโภค ส่งเสริมให้กลุ่มประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำบาดาลอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

ผู้สนใจขอรับการสนับสนุนโครงการ ต้องดำเนินการผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./เทศบาล) แล้วแจ้งความประสงค์ไปที่สำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 1 - 12 เพื่อสำรวจ คัดเลือก และจัดทำโครงการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลต่อไป

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ตามลิงก์นี้เลยครับ
https://drive.google.com/file/d/1vjMDo4SwYiM5g7xrXVyLT5CCFFYO14y_/view?usp=sharing

29 มี.ค. 67

"การสำรวจวัดสภาพใต้ผิวดินด้วยวิธีวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าแบบ 2 มิติ (2D Resistivity Survey)"

น้ำบาดาลเก็บมาเล่า....หลังจากที่เรารู้จักการสำรวจน้ำบาดาลด้วยวิธีวัดค่าความต้านไฟฟ้าแบบ 1 มิติ กันไปแล้ว วันนี้เราจะพาทุกท่านไปดูขั้นตอน "การสำรวจวัดสภาพใต้ผิวดินด้วยวิธีวัดค่าความต้านทานไฟฟ้าแบบ 2 มิติ (2D Resistivity Survey)" ซึ่งเป็นการวัดความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดจากการปล่อยกระแสไฟฟ้าลงไปในดินด้วยตัวกำเนิดกระแสไฟฟ้าตรง หรือใช้กระแสไฟฟ้าสลับที่มีความถี่ต่ำปล่อยลงไปในดินอย่างช้า ๆ มีการวัดระยะห่างของขั้วอิเล็กโทรดที่ใช้ปล่อยกระแสไฟฟ้า และวัดค่าความต่างศักย์ไฟฟ้าแตกต่างกัน

จากนั้นนำค่าความต่างศักย์ไฟฟ้ามาคำนวณหาค่าสภาพความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะสิ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของความต่างศักย์ไฟฟ้า และทางเดินของกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ในการหาแหล่งน้ำบาดาลที่มีศักยภาพยังต้องใช้อีกหลายองค์ประกอบร่วมกันในการพิจารณาสังเคราะห์ต่อไป

25 มี.ค. 67

ระบบ GCL คืออะไร!!!

ระบบ GCL คือระบบสารสนเทศเพื่อการควบคุมกิจการน้ำบาดาล หรือ Groundwater Control License ซึ่งถือเป็นเครื่องมือทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล โดยสำนักควบคุมกิจการน้ำบาดาล ได้จัดทำขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินงานควบคุมกิจการน้ำบาดาล

โดยระบบ GCL จะสามารถแสดงข้อมูลคำขอเจาะบ่อน้ำบาดาล, การออกใบอนุญาตเจาะและใช้น้ำบาดาล, ข้อมูลปริมาณน้ำที่ใช้ในแต่ละเดือน, การคำนวณค่าใช้น้ำ การออกใบแจ้งหนี้, การจัดทำรายงานทั้งแบบรายละเอียดและแบบสรุป เป็นต้น

นอกจากนี้ ประโยชน์ของระบบ GCL ดังกล่าวจะช่วยทำให้การจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบ, ลดความซ้ำซ้อนและความผิดพลาดของข้อมูล, ลดขั้นตอนในการทำงาน, เพิ่มความรวดเร็วในการทำงาน และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ประชาชนอีกด้วย

27 ก.พ. 67

หนึ่งในภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กับการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลสะอาดเพื่อประชาชน

หนึ่งในภารกิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กับการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลสะอาดเพื่อประชาชน ที่สามารถพบเห็นได้ตามชุมชน หรือเส้นทางคมนาคมริมถนนสายหลัก/สายรอง นั่นก็คือ "จุดบริการน้ำบาดาลเพื่อประชาชน" ซึ่งจุดบริการน้ำบาดาลบริเวณด้านหน้ากรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็น 1 ในจุดบริการกว่า 600 แห่ง ที่กระจายครอบคลุมอยู่ทุกพื้นที่ในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ ประชาชนที่มาใช้บริการ มักจะเป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียง หรือสามารถเดินทางสัญจรไปมาได้อย่างสะดวก โดยแต่ละคนจะนำภาชนะหรือขวดบรรจุน้ำขนาดต่างๆ มารับน้ำบาดาลสะอาดกลับไปใช้เพื่อประกอบกิจกรรมภายในครัวเรือน

19 ก.พ. 67
จำนวนทั้งหมด 12 รายการ